สืบทรัพย์ คืออะไร

บริการสืบทรัพย์ บังคับคดี ขายทอดตลาด

การสืบทรัพย์ คือ การที่เราตามหาทรัพย์สินหรือของมีค่าของลูกหนี้เพื่อออกขายและใช้หนี้เรานั่นเอง โดยปกติแล้วการสืบทรัพย์จะตามมาด้วยการบังคับคดีเป็นขึ้นตอนหลังจากที่ชนะคดีได้คำพิพากษามาแล้วนั่นเอง  หากไม่มีการสืบทรัพย์และบังคับคดีแล้ว ต่อให้ชนะคดีก็จะไม่ได้รับเงินจากคู่กรณี

ระยะเวลาในการสืบทรัพย์

หลังจากที่ชนะคดีแล้วกฏหมายให้เวลาเจ้าหนี้ในการสืบทรัพย์และดำเนินการบังคับคดีเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่มีคำพิพากษา หมายความว่า ถ้าพ้นระยะเวลานี้แล้วต่อให้ลูกหนี้เราจะมีเงินทองหรือทรัพย์สินขึ้นมา เราก็ไม่สามารถไปดำเนินการยึดหรืออายัดอะไรเขาได้

เพราะฉะนั้นหลังจากได้คำพิพากษามาแล้ว ผมแนะนำให้รีบดำเนินการทั้งสืบทรัพย์และบังคับคดีโดยเร็วที่สุด

เหตุที่กฎหมายให้ระยะเวลา 10 ปี เพราะเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วถ้าหากว่าให้คนเป็นหนี้และไม่มีวันสิ้นสุดในภาพรวมคนๆนั้นจะไม่ทำมาหากินและเป็นภาระสังคมตลอดไป เพราะถ้าทำงานมีรายได้ก็จะถูกสืบทรัพย์ บังคับคดีไปหมดนั่นเอง

วิธีสืบทรัพย์ก่อนฟ้อง

ปกติขั้นตอนการสืบทรัพย์ จะเริ่มขึ้นหลังจากได้คำพิพากษาโดยที่ทนายความจะนำคำพิพากษาไปตรวจสอบทรัพย์สินของลูกค้าตามถานที่ต่างๆ เช่น สำนักงานที่ดิน กรมขนส่งทางบก กรมเจ้าท่า ธนาคาร เป็นต้น ซึ่งต้องไปวัดดวงเอาว่าจะเจอหรือไม่เจอทรัพย์สิน ดังนั้นการที่ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินให้บังคับคดีหรือเปล่าก็เป็นความเสี่ยงของเจ้าหนี้อย่างมาก

ด้วยเหตุนี้จึงมีการ “สืบทรัพย์ก่อนฟ้อง” เพื่อให้เจ้าหนี้มั่นใจว่าหากดำเนินการทางกฎหมาย จ้างทนายความฟ้องคดีแล้วลูกหนี้จะมีทรัพย์สินให้ยังคับคดีนั่นเอง โดยวิธีการสืบทรัพย์ก่อนฟ้องคดี ถือว่าเป็นวิชานักสืบโดยแท้เพราะทนายความจะไม่มี “คำพิพากษา” ที่สามารถถือไปสืบตามสถานที่ราชการได้อย่างเป็นทางการ

วิธีที่ผมเคยพบเจอและเคยใช้ อย่างเช่น สืบจากโซเชียลมีเดียและตามไปเจอบ้านเจอรถ, เก็บรูปจากโซเชียลมีเดียกรณีเป็นข้อมีค่าในบ้าน กระเป๋า รองเท้า, ปลอมตัวเป็นลูกค้าไปซื้อของเพื่อได้ทราบเลขที่บัญชีธนาคาร, การเข้าไปทำความรู้จักเพื่อทราบภูมิลำเนาบ้านเกิด เป็นต้น

ยังมีอีกหลายวิธีที่เคยได้ยินมามากมายจึงบอกได้เต็มปากเลยว่าเป็นวิชาเฉพาะตัวของทนายความแต่ละคนจริงๆ อันนี้ผมไม่นับกรณีที่ให้คนรู้จักตามหน่วยงานต่างๆแอบเอาข้อมูลมาเปิดเผยนะครับ กรณีนี้ผิดกฎหมายจ้า

โดนสืบทรัพย์ ทำยังไงดี

คราวนี้มาพูดในมุมของลูกหนี้หรือว่าที่ลูกหนี้ที่โดยสืบทรัพย์กันดูบางครับ เนื่องจากการสืบทรัพย์หลายครั้งจะมีการสร้างความน่าอึดอัดและความกังวลใจ ผมจะแนะนำการถูกสืบทรัพย์ว่ารับมือยังไงครับ

  1. การโดยสืบทรัพย์โดยมาหาที่บ้าน ฝ่ายเจ้าหนี้มีสิทธิจะมาสืบทรัพย์ลูกหนี้ที่บ้านได้โดยปกติแล้วทนายความจะพาเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย ที่นี่เราจะรู้ได้ยังไงว่าเขามีสิทธิเข้ามาสืบทรัพย์จริงๆ ไม่ใช่โจร ขอคำพิพากษาและหมายยึดทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ ก่อนให้พวกเขาเข้าบ้าน
  2. การโดยสืบทรัพย์และยึดเงินเดือน อันนี้ต้องทำใจความเพราะหน่วยงานประกันสังคมถ้าโดยตรวจสอบ นายจ้างเราต้องหักเงินเดือนเราบางส่วนไปจ่ายหนี้
  3. การโดยสืบทรัพย์จากสำนักงานที่ดิน อันนี้ต้องทำใจเช่นกันครับเพราะต่อให้ไม่มีคดีความใดๆ ทางสำนักงานที่ดินเขาเปิดเผยข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของที่ดินแปลงไหนอยู่แล้วเพราะงั้นเรื่องที่ดินหลีกหนีไม่ได้ครับ

ไม่อยากเสียทรัพย์ ทำยังไง

การโดยสืบทรัพย์ บังคับดคี จะมีผลให้ทรัพย์สินของเราถูกยึดไปขายและได้เงินไปใช้หนี้เจ้าหนี้ ดังนั้นเราจะเสียทรัพย์สินนั้นไปไม่ว่าหนี้ของเราจะมีมูลค่าไม่ถึงทรัพย์สินนั้นก็ตาม เช่น เราเป็นหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ 1 ล้านบาท แต่บ้านของเราราคา 5 ล้านบาท แบบนี้เจ้าหน้าสามารถยึดบ้านเราออกขายได้ ส่วนขายได้แล้วเงินส่วนที่เหลือจากหนี้เราก็จะได้คืน แต่เราจะเสียบ้านหลังนี้ไปนั่นเอง….

วิธีแก้ไขตรงนี้คือ การเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อชำระเงิน 1 ล้านบาทตามคำพิพากษานั่นเอง จะเป็นเงินก้อนขอผ่อนหรือวิธีการใดก็แล้วแต่ หลังจากเจรจาได้แล้วเราต้องให้เจ้าหนี้ถอนการอายัดบ้านหรือทรัพย์สินของเราต่อไป

ค่าใช้จ่ายในการสืบทรัพย์

การสืบทรัพย์ เหมือนการเป็นนักสืบอย่างหนึ่งที่ตามสำนักงานทนายความจะมีบริการนี้ควบคู่กับการบังคับคดีอยู่แล้ว บางที่คิดว่าสืบทรัพย์เป็นรายชิ้น บางที่คิดแยกออกจากการบังคับคดี บางที่คิดเป็นค่าเสียเวลาและค่าเดินทางโดยที่ไม่การันตีว่าจะเจอทรัพย์สินหรือไม่ โดยจะไม่มีราคาค่าจ้างมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับความพอใจในการจ้างครับผม

ปกติแล้วการจ้างให้สืบทรัพย์ก่อนฟ้องคดีจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า การสืบทรัพย์หลังจากมีคำพิพากษาแล้วเนื่องจากต้องอาศัย คอนเน็ทชั่นและความสามารถส่วนตัวเยอะกว่านั่นเอง

สำหรับท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการทีมงานมืออาชีพในการสืบทรัพย์หรือบังคับคดี สามารถติดต่อเราได้เลย ยินดีให้บริการเต็มที่

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น