ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าชดเชย เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม กฎหมายแรงงาน

ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าชดเชย เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

กฎหมายแรงงานเบื้องต้น

กฎหมายแรงงาน เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งฝ่ายของลูกจ้างและนายจ้างต้องรับรู้และเข้าใจ กฎหมายแรงงานมีที่มาจากการที่ ลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบจนเกินไปจากนายจ้าง ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า ตัวของกฎหมายแรงงานจะพูดถึงกฎเกณฑ์ที่ ให้สิทธิของลูกจ้าง เป็นสำคัญและนายจ้างต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากนายจ้างฝ่าฝืนแล้วก็จะมีโทษปรับและโทษอื่นๆ ตามกฎหมายตามมา นอกจากฝ่ายของนายจ้างจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานแล้ว ก็จะต้องทราบและชี้แจ้งกับลูกจ้างได้ในกรณีที่ลูกจ้างเรียกร้องอะไรที่เกินกว่ากฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ เป็นสิ่งที่ฝ่ายบุคคลทุกบริษัทต้องทำการบ้านมีความรู้เป็นอย่างดี
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ

กฎหมายแรงงานที่ทุกคนควรทราบ

1.เวลาทำงาน/พัก
เวลาในการทำงานปกติ เวลาในการทำงานปกติคือ วันละไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ใน 1 สัปดาห์ไม่เกิน 48 ชั่วโมง

เวลาในการทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น งานขุดเหมือง งานใต้ดิน งานในถ้ำ งานในอุโมงค์ เป็นต้น ให้ทำได้สัปดาห์ละไม่เกิน 42 ชั่วโมง

เวลาในการทำงานประเภทขนส่ง วันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง

การทำงานลูกจ้างจะต้องมีเวลาพักผ่อน หรือพักทานข้าวโดยกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า หลังจากเริ่มงานไปแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงต้องได้พักอย่างน้อง 1 ชั่วโมง

ถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลาหรือ “โอที” ต้องให้ลูกจ้างพักอย่างน้อย 20 นาทีก่อนการทำงานล่วงเวลา

2.วันหยุดวันลา

นายจ้างจะต้องกำหนดวันหยุดให้กับลูกจ้างโดย ใน 1 สัปดาห์จะต้องมีวันหยุด 1 วัน และวันหยุดต้องไม่ห่างกันเกินกว่า 6 วัน โดยปกติบริษัทก็จะกำหนดวันหยุดตายตัวประจำสัปดาห์ไว้อยู่แล้ว เช่น หยุดวันเสาร์ หรือหยุดวันอาทิตย์ ที่กำหนดตายตัวไว้นอกจากเพื่อความสะดวกในการทำงานแล้ว ยังเป็นไปตามกฎหมายด้วยว่าจะวันหยุดจะไม่ห่างกันเกินกว่า 6 วัน

วันหยุดตามประเพณี / ตามปฏิทิน นายจ้างจะต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทุกคนไม่น้อยกว่า 13 วันใน 1 ปี ปกติแล้วฝ่ายบุคคลก็จะประกาศวันหยุดไว้ล่วงหน้าให้ทราบกันอยู่แล้ว ในประเทศไทยรัฐบาลมักจะประกาศวันหยุดต่อปี (วันหยุดราชการ) มากกว่า 13 วันต่อปีอยู่แล้ว ในส่วนของเอกชนก็จะมีวันหยุดมากน้อยตามแต่นโยบายบริษัท แต่อย่างน้องต้องให้มีวันหยุดไม่น้อยกว่า 13 วันต่อปีนั่นเอง

การหยุดลาพักร้อน สำหรับลูกค้าที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแล้ว จะมีสิทธิขอลาพักร้อนได้ตามกฎหมาย แม้ในสัญญาจ้างจะไม่ได้ระบุไว้ก็ตาม โดยจะได้พักร้อย 6 วันต่อ 1 ปี และหากปีไหนไม่ได้ใช้วันพักร้อนก็สามารถทบไปใช้ในปีถัดไปได้ ทั้งนี้การกำหนดวันที่จะพักร้อนเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อไม่ให้ลูกจ้างที่ลาพักร้อนทำให้นายจ้างต้องเสียหายในกิจการมากเกินสมควร

ทั้งนี้หากขณะเลิกจ้างกันยังใช้วันหยุดพักร้อนไม่ครบ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนของวันหยุดพักร้อนคงเหลือให้กับลูกจ้างคนนั้นด้วย

ลาป่วย ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ไม่เกิน 30 วันต่อ 1 ปี โดยที่นายจ้างจะหักเงินเดือนไม่ได้ เรื่องใบรับรองแพทย์ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน ถ้าการลาป่วยนั้นไม่ได้ติดต่อกันเกินกว่า 3 วัน ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องหาใบรับรองแพทย์มาให้นายจ้างดู แต่หากป่วยเกิน 3 วันและไม่มีใบรับรองแพทย์ให้ลูกค้าอธิบายกับนายจ้างตามแต่กรณีไป

ลากิจ นายจ้างจะต้องกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการลากิจไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างไปทำธุระ ติดต่อราชการต่างๆ

การคุ้มครองแรงงาน

เรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ หลายคนให้ความสนใจมากที่สุดคือ “เงินชดเชย”

เงินชดเชย คือ เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้างกรณีที่ ไล่ลูกจ้างออก หรือ ให้ลูกจ้างหยุดทำงาน เพื่อเป็นการตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานให้เป็นเวลานานและเป็นเงินตั้งตัวก่อนที่ลูกจ้างจะไปหางานใหม่ได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าเป็นกรณีที่ลูกจ้างลาออกเอง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้

ค่าชดเชย เท่าไหร่

ถ้าทำงานมาเป็นเวลา 120 วัน ไม่ครบ 1 ปี = ค่าจ้าง 30 วันสุดท้าย (ประมาณเงินเดือน 1 เดือน)

ถ้าทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี ไม่ครบ 3 ปี = ค่าจ้าง 90 วันสุดท้าย (ประมาณเงินเดือน 3 เดือน)

ถ้าทำงานมาเป็นเวลา 3 ปี ไม่ครบ 6 ปี = ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย (ประมาณเงินเดือน 6 เดือน)

ถ้าทำงานมาเป็นเวลา 6 ปี ไม่ครบ 10 ปี = ค่าจ้าง 240 วันสุดท้าย (ประมาณเงินเดือน 8 เดือน)

ถ้าทำงานมาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป = ค่าจ้าง 300 วันสุดท้าย (ประมาณเงินเดือน 10 เดือน)

กรณีที่ไม่ได้รับค่าชดเชย

ลูกจ้างลาออกเอง, ทุจริตต่อหน้าที่, ทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง, จงใจทำนายจ้างให้ได้รับความเสียหาย, ประมาททำให้นายจ้างเสียหายอย่างร้ายแรง, ใบเตือนเรื่องเดิม 2 ครั้ง, ทิ้งงาน 3 วันติดต่อกัน หรือ ลูกจ้างติดคุก

กฎหมายแรงงานต่างด้าว

คนต่างด้าว คือ คนที่ไม่มีสัญชาติไทย ปกติแล้วจะไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ตั้งแต่แรก แต่ถ้าได้เดินทางเข้ามาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในไทย แย่งงานคนไทยได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

แรงงานต่างด้าว สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

1.กลุ่ม 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนม่า(พม่า), ลาว และ กัมพูชา โดยกลุ่มแรงงานนี้จะเป็นกลุ่มแรงงานที่เน้นการใช้แรงงาน เช่น จับกัง กรรมกร เป็นต้น โดยจะมีกฎกระทรวงออกกฎเกณฑ์การนำแรงงานกลุ่มนี้เข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายเป็นกลุ่มๆ มาทำงานตามระยะเวลาหนึ่งในสถานที่ทำงานที่ขออนุญาตไว้ ภายใต้บันทึกข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU)

2.กลุ่มต่างด้าวทั่วไป คือ กลุ่มสัญชาติที่ไม่ใช่ 3 สัญชาติข้างต้น โดยกลุ่มนี้จะเป็นการทำงานหลากหลาย ต่างคนต่างเข้ามาและต่างคนก็ต่างทำงานแต่นายจ้างแต่ละที่ ตามความถนัดของตนเอง โดยจะทางนายจ้างมีหน้าที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานหรือ work permit ให้กับต่างด้าวในการทำงาน

ต่างด้าวไม่สามารถทำงานได้ทุกงานในประเทศไทย

มีงานอยู่หลายอย่างที่กฎหมายบังคับห้ามไม่ให้ต่างด้าวเข้ามาทำงาน เพราะจะเป็นการแย่งงานคนไทย

เช่น งานแกะสลัก, งานขับขี่ยานยนต์, งานขายทอดตลาด, งานเจียระไน, งานตัดผมหรือเสริมสวย, งานทอเสื่อ, งานเลขานุการ และ งานบริการทางกฎหมาย เป็นต้น

สามารถตรวจสอบได้จาก ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ

ปัญหาเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

นายจ้างหลายคนอยู่ๆ ก็ทำการเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำอะไรผิดและนายจ้างไม่มีเหตุผล

นอกจากค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับแล้ว ลูกจ้างยังสามารถเรียก ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จากนายจ้างได้อีก 1 ก้อน

เช่น นายจ้างมีปัญหาส่วนตัวกับลูกจ้างอยู่ๆ ก็ทำการไล่ออกทันที เป็นต้น

ปัญหาลูกจ้างทิ้งงาน

ลูกจ้างหลายคนเปลี่ยนงานและสามารถหารายได้ได้หลายทาง จึงทำให้เกิดการ ทิ้งงาน

บ่อยครั้งในปัจจุบัน ปัญหานี้แม้ว่านายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยหรือเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ทิ้งงานได้ แต่ก็จะเกิดความยุ่งยากและเพิ่มขั้นตอนให้กับนายจ้างเปล่าๆ

วิธีแก้ไขเรื่องนี้คือ การให้ลูกจ้างวางเงินประกันการทำงาน และ การให้บุคคลอื่นมาเป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน

เพราะหากว่ามีการทิ้งงานเกิดขึ้นจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับเงินประกันการทำงานคืน และ บุคคลที่ทำการค้ำประกันไว้ก็จะช่วยโน้มน้าวไม่ให้ลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายหรือทิ้งงาน

เรามีบริการดูแลกฎหมายแรงงานทั้งฝ่ายของนายจ้างและลูกจ้าง ครบวงจร ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาตามช่องทางด้านล่างได้เลย

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น