ต้องยอมรับว่า ปัญหาเรื่องทรัพย์สินหรือสมบัติระหว่างสามีภรรยา เป็นปัญหาที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยด้วยกันเองหรือคนที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ เพราะเวลาเราเลิกกันหรือมีปัญหา หมดใจกันแล้วก็มักจะแย่งทรัพย์สินกันต่ออีก
วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดกันครับว่า “สินสมรส” มันมีเรื่องสำคัญอะไรบ้าง
สารบัญเนื้อหา
สินสมรส คือ
“หัวใจหลัก” คือ สิ่งที่ได้มา หลังจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ไม่สำคัญว่าใครจะเป็นคนหามาได้ แต่ถ้าได้มากหรือมีขึ้นหลังสมรสแล้วใครจะได้มา ให้สันนิษฐานเป็นสินสมรสก่อนเสมอ เรื่องนี้กฎหมายของมองว่าการมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมันมีหลายมิติเช่น เรื่องในบ้าน การเลี้ยงลูก การดูแลสารทุกข์สุกดิบให้อีกคนนึงและอีกคนนึงออกไปทำงาน เพราะฉะนั้นอะไรที่มันงอกเงยขึ้นมาจึงเป็นผลงานของทั้งสองคนร่วมกันอารมณ์เหมือนงานกลุ่มนั่นแหละครับ
นอกจากหลักการตรงนี้แล้วเรามาดูข้อกำหนดแบบละเอียดทางกฎหมายกันต่อครับ
สินสมรส มีอะไรบ้าง
1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
ตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน แต่ขอกำชับครับว่า การสมรสจะต้องเป็นการจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย การแต่งงานกันตามประเพณี การผูกข้อไม้ข้อมือยังไม่ใช่ ข้อกฎหมายข้อนี้ครับ
2. มรดกที่ “พินัยกรรมบอกให้เป็นสินสมรส”
ปรกติมรดกไม่ใช่แรงกายแรงใจที่เราหามาได้ เราแค่บังเอิญโชคดีที่มีคนให้มรดกเราแค่นั้นเองเพราะฉะนั้นโดยหลักการมันจึงไม่ใช่สินสมรส แต่ถ้ามีพินัยกรรมระบุว่าให้เป็นสินสมรสก็เป็นไปตามนั้นครับ
3. ดอกผลของสินส่วนตัว
คำว่าดอกผลเป็นคำกฎหมาย ถ้าจะให้เรียกง่ายๆก็เหมือนพวก “ดอกเบี้ยหรือประโยชน์” ของสินส่วนตัวของเรา หลักการเดียวกับข้างบนเลย เพราะหลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วต่างคนต่างประคบประหงมชีวิตกันและกัน ประโยชน์ที่มันเกิดขึ้นระหว่างนี้จึงเป็นสินสมรส
“แต่ระวังไว้นะครับเฉพาะตัวของดอกผลหรือประโยชน์เท่านั้นนะส่วนของเงินต้นหรือสินส่วนตัวนั้นนั้นก็ยังเป็นสินส่วนตัวอยู่วันยังค่ำ”
สินส่วนตัว คือ
สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่จะเป็นของเราคนเดียว ไม่ต้องแบ่งกับสามีหรือภริยาไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน หรือพูดให้ตรงข้ามกันว่า “ไม่ใช่สินสมรส”
ซึ่งปกติแล้วมันก็จะเป็นสิ่งที่เราได้มา “ก่อน” ที่เราจะจดทะเบียนสมรส แต่ก็มีอย่างหนึ่งที่ผมอยากให้จำไว้ก็คือ พวกมรดก ถ้าไม่ได้มีพินัยกรรมระบุว่ายกให้เป็นสินสมรสมันก็จะเป็นสินส่วนตัวเพราะมันเป็นของญาติพี่น้องเราครับคู่สมรสไม่เกี่ยว
ยังมีพวกของใช้ส่วนตัวด้วยครับอย่างเช่น สบู่ ยาสีฟัน เสื้อผ้า ต่อให้เราซื้อมาหลังจดทะเบียน มันก็เป็นของเราครับ , แล้วก็ทรัพย์สินที่มีคนมาให้เราโดยเสน่หาซึ่งก็เหมือนมรดกนั่นแหละครับคืออยู่ๆ เราก็ได้มันมา แต่การให้ตรงนี้ก็ตรงจำแนกว่าให้
“เราคนเดียวหรือให้คู่เราด้วย…”
มีเรื่องที่หลายคนมักจะสับสนอีกครับ คือสินส่วนตัวถ้ามันเปลี่ยนไปเป็นทรัพย์สินอื่นหลังจดทะเบียนสมรสมันก็จะยังเป็นสินส่วนตัวอยู่วันยังค่ำ ยกตัวอย่างเช่น เงินเก็บที่เรามีก่อนแต่งงานเราเปลี่ยนเงินทั้งก้อนเป็นรถหนึ่งคันรถคันนี้ก็ยังเป็นของเราคนเดียวไม่ต้องไปแบ่งกับคู่สมรสของเราเลย
มรดก เป็นสินสมรสหรือไม่
เรื่องมรดกเป็นเรื่องที่หลายคู่เกิดความสับสนอยากมากผมจึงแยกหัวข้อไว้ตรงนี้อีกครั้งนึงนะครับว่า
“มรดกแบบปกติเป็นสินส่วนตัว ยกเว้น พินัยกรรมจะบอกให้เป็นสินสมรส”
หวังว่าประโยคนี้จะสร้างความเข้าใจให้กับคนที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่นะครับ ไม่ว่ายังไงมรดกที่เราได้จากญาติพี่น้อง เป็นสิ่งที่เราได้สายเลือดคู่สมรสเราไม่มีเลือดเดียวกันนั้นเค้าเลยไม่มีสิทธิ์ได้นะ
แต่พินัยกรรมเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง ที่คนตายเค้าทำพินัยกรรมยกให้คุณและภรรยาเป็นสินสมรสมันก็จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของคนตายครับ คือ เป็นสินสมรส
สินสมรส แบ่งยังไง
สินสมรสจากแบ่งกันจริงๆ ตอนหย่า
หลักก็ต้องแบ่งเท่าๆกันครับระหว่างสามีกับภรรยา คนละครึ่ง แต่ถ้าใครเคยได้ยินข่าวที่มันตลกๆ อย่างเช่น การเอารถยนต์มาหั่นครึ่งแบ่งกันแล้วจะรู้สึกว่าการแบ่งคนละครึ่งมันไม่ตอบโจทย์ในความเป็นจริงเลย
ใช่แล้วครับ เพราะทรัพย์สินหลายอย่างนั้นมันไม่ได้อยู่ในรูปแบบของเงินทองแต่มันเป็นของเป็นชิ้นๆ จะให้หันครึ่งก็เท่ากับเสียไปเลย น่าเสียดาย
กฏหมายจึงให้ทั้งสามีและภรรยาสามารถตกลงกันได้
ยกตัวอย่างเช่น
สินสมรสมี ที่ดินหนึ่งแปลง, มีรถยนต์สองคัน สามีอาจจะตกลงกับภรรยาว่าให้ภรรยาเอาที่ดินพร้อมบ้านไปแล้วสามีขอรถสองคันแบบนี้สามารถตกลงกันได้โดยที่กฎหมายจะไม่บังคับเรื่องมูลค่าว่าจะต้องเท่ากันเป๊ะๆ ตกลงกันได้ก็พอ
อย่างที่คิดนะครับว่าคนมันจะเลิกกันจะคุยกันดีดีแบ่งของกันง่ายง่ายก็คงจะไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ก็จะต้องพึ่งกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งแบ่งให้ครับผม แต่คืนนี้ต้องทำใจนะครับเพราะศาลก็คงไม่สามารถไปล่วงรู้ได้ว่าของชิ้นไหนมีมูลค่าทางจิตใจต่อใครมากกว่ากันศาลก็คงจะบอกได้แค่ว่าให้แบ่งกันคนละครึ่ง
และกระบวนการทางกฎหมายก็ต้องเอาของชิ้นนั้นออกขายเปลี่ยนเป็นเงินแล้วเอาเงินมาแบ่งกัน
บ้าน รถ ยังผ่อนไม่หมดเป็นสินสรสหรือไม่
ทรัพย์สินชิ้นใหญ่ใหญ่และเป็นปัญหาที่ถามกันมาเยอะมากๆก็คือบ้านและรถที่ยังติดผ่อนธนาคารหรือไฟแนนซ์อยู่ ว่าแบบนี้จะไปสินสมรสหรือเปล่า
เพื่อความง่ายในการอธิบายขอแยกบ้านกับรถออกจากกันนะครับเพราะมันมีสถานะทางกฎหมายที่ไม่เหมือนกัน
“บ้าน” เวลาเราซื้อบ้านมาถ้าดูหลักโฉนดดีๆ เราจะเห็นว่าเรามีชื่อเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินโดยธนาคารหรือสถาบันทางการเงินเป็นผู้รับจำนอง เพราะอย่างงั้นทางกฎหมายบ้านจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของเราตั้งแต่วันแรกที่เราซื้อมาแล้วครับเราแค่มี “หนี้” ที่ต้องจ่ายคืนธนาคารเท่านั้นเอง (แต่หนี้ก้อนใหญ่หน่อยนะ)
เพราะฉะนั้นเรื่องบ้านให้นับเลยครับว่าวันที่เราไปโอนบ้านมานั้นวันนั้นเราจดทะเบียนแล้วหรือยังถ้าเราจดทะเบียนแล้วบ้านหลังนี้ก็เป็นสีส้มรถถ้ายังไม่จดทะเบียนก็เป็นสินส่วนตัวครับ
ยังไม่จบปัญหาบ้านนั้นมันอยู่ที่ “เงินผ่อนด้วย” แต่จะยาวเกินไปบอกว่าสั้นๆ แค่ว่ามันมีวิธีเอาคืนไม่ได้ผ่อนให้เขาไปคนเดียวแน่นอน
“รถ” รถจะมีสถานะที่แตกต่างกันครับเพราะว่ารถวันที่เราซื้อมามันตรงข้ามกับบ้าน ความเป็นเจ้าของในตัวรถจะอยู่ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่เค้าให้เรามาใช้สอยก่อนเราจ่ายเงินครบเค้าถึงจะโอนรถให้ เพราะฉะนั้นถ้าจดทะเบียนสมรสก่อนแล้วธนาคารโอนรถมาให้ทีหลังก็จะเป็นสินสมรสครับ
ยังไม่จบปัญหาเงินผ่อนก็มีเหมือนบ้านครับแต่จะตรงข้ามกันคือ “มูลค่าหรือสัดส่วน” ถ้าเอาเอาเงินส่วนตัวเอาไปผ่อนเท่าไหร่ความเป็นสินส่วนตัวก็จะยังอยู่ตามสัดส่วนนั้นๆครับ
เงินบำนาญ เป็นสินสมรสไหม
ให้มองง่ายๆครับว่าเงินบำเหน็จหรือบำนาญราชการนั้น เป็นเหมือนเงินเดือนหรือโบนัสที่คู่สมรสได้จากบริษัทเอกชน ดังนั้นถ้าเงินก้อนนี้ได้มาหลังจดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่ว่ามันจะมากจะน้อยขนาดไหนมันก็จะเป็นสินสมรสด้วยครับ
สรุป
จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้ความสำคัญในเรื่องสินสมรสอย่างมากโดยจะเป็นข้อสันนิษฐานตามกฏหมายเลยซึ่งจะมีจุดสำคัญคือ “วันจดทะเบียนสมรส” เพราะฉะนั้นถ้าใครรู้สึกว่าเรามีฐานะที่ต่างจากคู่สมรสค่อนข้างมากและกังวลในเรื่องของทรัพย์สินไม่อยากทะเลาะกันแนะนำให้ลองจัดทำ “สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินก่อนสมรส”
ถ้าใครยังไม่รู้จักสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินก่อนสมรสลองอ่านในบทความนี้ได้เลยครับ “สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินก่อนสมรส”
ก่อนจดทะเบียนสมรสหมดปัญหาการทะเลาะกันและวางแผนกันได้ง่ายขึ้นแน่นอน
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.