การเริ่มลงทุนทำธุรกิจกับคนรู้จัก หรือคนที่เราไว้ใจนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายและเกิดขึ้นบ่อยมากครับ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเราต้องการ “ช่วยเหลือ” หรือ “มองเห็นกำไร” จากธุรกิจนั้นก็ตาม ซึ่งในความจริงธุรกิจมีทั้งกำไรและก็ “ขาดทุน”
ซึ่งถ้าหาก “ธุรกิจเจ๊ง” ขึ้นมาเราในฐานะนักลงทุนที่เป็นหุ้นส่วนจะได้เงินที่ลงไปคืนหรือไม่? หรือสามารถถอนทุนคืนก่อนที่มันจะเจ๊งจริงๆได้หรือเปล่า วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันนะครับ
ธุรกิจขาดทุน
ทางกฎหมายแล้วไม่ว่าธุรกิจของเราจะมีหน่วยเล็ก อย่างห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือปานกลางถึงใหญ่โตอย่าง บริษัทจำกัดและบริษัทจำกัดมหาชน ก็จะมีการทำบัญชีหรืองบการเงินเพื่อสรุปยอดกำไรขาดทุนในแต่ละปีเหมือนกัน
ซึ่งหากธุรกิจมีกำไรขึ้นมาแล้ว ก็จะเอากำไรที่ได้ไปปันผลตามสัดส่วนของหุ้นส่วนที่ตกลงกันไว้หรือที่ลงทุนมาตามสัดส่วนจริงๆ
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมดที่ทางผมทำคดีอยู่เยอะ มันมักจะมาการการที่ธุรกิจ “ขาดทุน” หรือเจ๊ง นั่นเอง
ซึ่งการขาดทุนของธุรกิจนั้น จะต้องอาศัยการลงบัญชีในพื้นฐานวิชาชีพของบัญชี พร้อมรองรับโดยผู้สอบบัญชีที่มีใบอนุญาตกำกับอยู่จึงได้ว่าบัญชีที่สรุปมานั้นถูกต้องและน่าเชื่อถือแล้ว
ดังนั้นหากเราอยู่ว่าผลประกอบการทั้งหมดขององค์กรเป็นยังไบ้างแล้ว ให้ดูจากงบการเงินที่ยื่นต่อหน่วยงานราชการหรือไปขอดูกับเจ้าหน้าที่ หรือดูแบบออนไลน์ได้เหมือนกันครับ
คำว่าขาดทุนในบริบทนี้ให้เข้าใจตรงกันว่ามันคือ “ขาดทุนทางบัญชี” เท่านั้น ไม่ใช่การขาดทุนในแนวคิดของหุ้นส่วนหรือวิธีการคำนวณแบบทั่วไป ดังนั้นเวลาองค์กรณ์ไหน (โดยเฉพาะองค์การขนาดเล็กๆไปถึงปานกลาง) ต้องการคุยหรือดูสรุปกำไรขาดทุน แนะนำให้ทำการบันทึกบัญชีแบบที่เราเข้าใจก่อน
ธุรกิจเจ๊งถอนทุนคืนได้ไหม
พอเราเห็นแล้วว่าธุรกิจของเรามัน “ขาดทุน” อยู่หรือกำลังแก้ไข หุ้นส่วนส่วนใหญ่ก็กลัวว่าทุนตัวเองจะหายไปด้วย ซึ่งเรื่องผมจะบอกกว่า ไม่ต้องกังวลครับทุนคุณโอกาสหายเกินกว่า 95% เรียบร้อยแล้ว
ตามกฎหมายเรื่องทุนที่เราลงไปนั้นให้คิดซะว่าเรา “ให้” กับองค์กรณ์ธุรกิจของเรา ดังนั้นหากดำเนินกิจการไปแล้วมันติดขาดทุนขึ้นมา เราจะมาดราม่าและขอถอนทุนคืนไม่ได้
เหตุผลเพราะส่วนเราเอาเงินหรือทุนของเราแลกกับความเป็นเจ้าของตามสัดส่วนหุ้นไปแล้วนั่นเอง
หุ้นส่วนถอนทุน
พอทราบแล้วว่าแม้ธุรกิจจะขาดทุนแต่ หุ้นส่วนต่างๆก็ยังไม่สามารถเอาเงินที่ลงทุนไปกลับคืนมาได้ แบบไม่เสี่ยง
อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนสามารถทำข้อตกลงร่วมกันได้ในการเลิกกิจการหรือแม้กระทั่ง “ถอนทุนคืน” โดยการเอาทรัพย์สินของกิจการที่มีอยู่ มาตีราคามุลค่าหรือประกาศขายจริงๆ เสร็จแล้วเอาไปหักหนี้สินทั้งหนี้ภายในบริษัทและหนี้ภายนอกต่างๆ
หลังจากนั้นเราก็จะเหลือเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งให้หุ้นส่วนทุกคนตกลงกันได้ว่าจะคืนกันยังไง ไม่ว่าจะคืนตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดหรือตกลงคืนกันแบบกำหนดกันเองก็ได้
ถ้าสัดส่วนตรงนี้เหลือมากกว่าหรือเท่ากับที่ลงทุนไปก็คงจะเรียกว่า “ถอนทุน” ได้ แต่ถ้ามันไม่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่กิจการที่มาขึ้นตอนนี้มักจะไม่เหลือเพราะปัญหาการขาดทุน ก็ถือว่าเราลงทุนพลาดไปนั่นเอง
อย่างไรก็ดีขอเสริมอีกกรณีหนึ่ง คือ
หุ้นส่วนตกลงเลิกกิจการกันทั้งๆที่กิจการยังสร้างกำไรอยู่
กรณีแบบนี้ถ้าไม่ได้เข้ามาทำงานด้านนี้ก็คงไม่รู้ครับ แต่มันเกิดขึ้นจริงๆ โดยปกติจะเป็นเคสที่มีหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งต้องการเลิกทำกิจการ เช่น ต้องการเงินก้อน มีปัญหาความเห็นในการทำธุรกิจ หรือเหตุผลอื่นๆ
ทำให้ต้อง “ถอนทุน” ก่อนที่จะเลิกกิจการ เคสแบบนี้กิจการยังดำเนินต่อไปนะครับ
แต่หุ้นส่วนคนนี้จะต้องขายส่วนของตัวเองให้หุ้นส่วนคนอื่นหรือขายคนนอกนั่นเอง แบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะได้ทุนคืนเต็มหรือกำไรครับ เพราะกิจการยังทำ “กำไร” ได้อยู่นั่นเอง
สรุป
กล่าวได้ว่าถ้าธุรกิจอยู่ในช่วง “ขาดทุน” หรือ “ใกล้เจ๊ง” โอกาสที่เราจะได้ทุนคืนมีน้อยมากๆ ผิดจากกรณีที่ธุรกิจกำลังอยุ่ในช่วงขาขึ้นมีกำไร อันนั้นถ้าเราจะขายหุ้นหรือถอนทุนคืน ก็ง่ายมากๆที่จะได้ราคาเดิมที่ลงทุนไปหรือได้กำไรงอกเงยมาด้วยซ้ำ
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.