การจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอน จดที่ไหน รายได้เท่าไหร่ควรจด

บริการจดจัดตั้งบริษัท

การจัดตั้งบริษัท เป็นการขยายธุรกิจไปอีกระดับหนึ่งซึ่งจะทำให้มีโอกาสมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยขั้นตอนและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเราควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนเสียก่อนว่าเราจำเป็นหรือมีความต้องการจะจดจัดตั้งบริษัทมากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท สามารถเเบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. เตรียมข้อมูล
  2. เตรียมเอกสาร
  3. จดทะเบียน

ระยะที่ 1 เตรียมข้อมูล

  • จำนวนหุ้นส่วน : มีใครเป็นหุ้นส่วนบ้าง
  • ประเภทของหุ้น : ศึกษาประเภทของหุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ว่ากำหนดกันว่าใครจะถือหุ้นเท่าไหร่ยังไงบ้าง
  • จำนวนทุนจดทะเบียน : จำนวนทุนที่ลงกันจริงๆ หรือ จำนวนทุนที่อยากให้แสดงให้ผู้อื่นรับทราบ
  • สำนักงานใหญ่ : จะให้บริษัทเราตั้งอยู่ที่ไหน
  • ผู้สอบบัญชี : หาสำนักงานบัญชีไว้เลยครับ เพราะบัญชีก็ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่เดือนแรกๆ
  • กรรมการ : ใครเป็นกรรมการ มีอำนาจอะไรบ้าง
  • วัตถุประสงค์ : เลือกวัตถุประสงค์ของบริษัทให้ชัดเจน เช่น นำเข้าส่งออก ร้านอาหาร เป็นต้น

ระยะที่ 2 เตรียมเอกสาร

  • การเตรียมเอกสาร ในการจดทะเบียนบริษัทมีเอกสารหลายส่วนต้องเตรียม ถ้าเราจ้างบริษัทกฎหมายหรือบริษัทบัญชี เขาจะดูแลให้เราหมดครับ เราเซนต์ชื่ออย่างเดียว
  • แต่ถ้าจะเตรียมเอกสารเอง แนะนำให้ศึกษาจากเวปไซด์นี้ได้เลยครับ >>>> คู่มือแนะนำจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ระยะที่ 3 จดทะเบียน

  • ในส่วนของการจดทะเบียนสามารถจดแบบออนไลน์และออฟไลน์ (ยื่นมือ)
  • พร้อมชำระค่าธรรมเนียม

จดทะเบียนบริษัทที่ไหนได้บ้าง

การจดทะเบียนบริษัท สามารถจดได้ทั้งแบบออนไลน์ (อยู่หน้าคอม) กับแบบออฟไลน์ (ยื่นมือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทในท้องที่)

กรณียื่นแบบออนไลน์ แนะนำให้ใช้ Googel Chorm ครับ

กรณียื่นแบบออฟไลน์ ให้ยื่นที่ “สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท” ในเขตพื้นที่ที่เราจะให้เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ถ้าจะให้ดูง่ายๆก็ดูว่า บ้านเราหรือว่าที่ออฟฟิศเรานั้นอยู่ใน อำเภอหรือเขตไหน แล้วเราก็ค้นหา สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ใกล้ๆดูครับผม

แนะนำว่าให้โทรหาเจ้าหน้าที่ก่อนว่าที่อยู่นี้อยู่ในเขตนั้นหรือเปล่านะครับ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ยากครับเพราะเขา แบ่งเป็นจังหวัดอยู่แล้ว

รายได้เท่าไหร่ควรจดบริษัท

คำถามยอดฮิตเลยครับ “รายได้เท่าไหร่เปิดบริษัท” ต้องบอกอย่างแรกก่อนครับว่า กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีรายได้เท่าไหร่ต้องจดบริษัท เพราะฉะนั้นจะอยู่ที่ประสบการณ์ ความต้องการ และเงื่อนไขของกิจการที่จะบอกเราได้ว่าเมื่อไหร่ครับ อาทิเช่น

  • ทำธุรกิจหลายคน อยากได้ความเป็นทางการและกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนมากขึ้น
  • กิจการดังกล่าวต้องขอใบอนุญาต และมีเงื่อนไขว่าต้องจดจัดตั้งเป็นบริษัท
  • รายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่อยากใช้ชื่อตัวเองไปจด VAT
  • คู่ค้าต้องการค้าขายกับ “บริษัท” เท่านั้น
  • มีนักลงทุนจะลงทุนด้วย การเปิดเป็นบริษัทก็จะมีเรื่องสัดส่วนหุ้นที่เป็นเอกสารราชการรองรับไว้ชัดเจน
  • แผนทางธุรกิจหรือความจำเป็นอื่นๆ

สรุป

ถ้าเริ่มทำกิจการกับคนอื่นแล้วก็แนะนำให้จดครับ แม้รายจ่ายจะเพิ่มแต่หากมีปัญหาแล้ว ด้วยฐานะ “บริษัท” จะมีกฎหมายช่วยเราควบคุม ตรวจสอบ และดูแลมากกว่าไม่มีฐานะอะไรเลยครับ

ส่วนถ้าอยากติดต่อเราเพื่อจัดตั้งบริษัทรวมถึงสัญญาหุ้นส่วนพร้อมเอกสารสำคัญทางกฎหมายให้กับธุรกิจของท่าน ติดต่อเราได้ทันทีเลยครับ

เนื้อหา/เรียบเรียง : ทนายแชมป์

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น