ขั้นตอนและวิธีฟ้องศาลออนไลน์ “ด้วยตัวเอง”

การฟ้องคดีออนไลน์ ต้องทำผ่านระบบศาลยุติธรรมเท่านั้น โดยสามารถทำได้เฉพาะคดีแพ่งหรือคดีฝ่ายเดียว ในส่วนของคดีอาญาทำไม่ได้ยังต้องยื่นที่ศาลอยู่เหมือนเดิม

โดยการยื่นฟ้องคดีออนไลน์นั้นทางศาลได้เตรียมตัวมานาน เพื่อให้เกิดความสะดวกลดการเดินทางมาศาล ความจริงเริ่มมีการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ก่อนโควิดแล้ว แต่ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะจากเหล่าทนายความในช่วงโควิดถึงตอนนี้ เพราะไม่ต้องเดินทางมาศาลประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้วย

ส่วนของวันนี้จะแนะนำกรณีที่เราไม่มีทนายความและต้องการยื่นฟ้องคดีเอง วิธีการดังต่อไปนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th/eFiling/#/ หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของศาลแพ่ง เริ่มสร้างบัญชีผู้ใช้งาน
    โดยเลือกประเภทผู้ใช้งาน สำหรับประชาชน หากเป็นผู้ใช้งานใหม่ ลงทะเบียนผู้ใช้งานในระบบ
  2. หลังจากลงทะเบียนแล้ว ล็อกอิน (Log in) เข้าสู่ระบบยืนยันเงื่อนไขการใช้งาน และเลือกเมนูคดีที่ต้องการฟ้อง ไม่ว่าจะเป็น
    • คดีแพ่ง  (บอกเลิกสัญญาเรียกค่าเสียหาย , ผิดสัญญา, ทำละเมิด, ฟ้องขับไล่, ขอให้ส่งมอบทรัพย์สิน)
    • คดีผู้บริโภค
    • คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก   
    • คดีขอศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
  3. พร้อมกรอกรายละเอียดคำฟ้อง ประกอบด้วยข้อมูลโจทก์ จำเลย ข้อมูลคำฟ้อง พร้อมแนบเอกสารหรือหลักฐานการ มูลเหตุที่เรียกร้อง ข้อมูลความเสียหายคำขอต่อศาล และสามารถระบุพยานได้ เป็นต้น เมื่อกรอกที่ได้รับความเสียหายกรอกรายละเอียดและยื่นคำฟ้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พนักงานของศาลแพ่งจะทำการตรวจสอบว่า การฟ้อง ข้อเท็จจริงนั้นครบถ้วนหรือไม่ หากคำฟ้องตรงตามเงื่อนไขการพิจารณาคดีและข้อมูลถูกต้องครบถ้วนเจ้าพนักงานคดีจะเสนอคำฟ้องเพื่อให้ศาลรับคำฟ้อง

*หมายเลขคดีดำเป็นสิ่งสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินคดี ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจดจำ

4. เมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลแล้ว ศาลจะดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ วันพิจารณาคดี การสืบพยาน และการไกล่เกลี่ยจะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์

*กรณีไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การผ่านระบบออนไลน์และดำเนินการต่อสู้คดีในลำดับต่อไป

การยื่นฟ้องด้วยตนเอง ยื่นฟ้องได้ในวันเวลาราชการ

ขณะที่การฟ้องคดีทางออนไลน์หากฟ้องหลังเวลา 16.30 น. หรือในวันเสาร์-อาทิตย์ ก็จะนับวันทำการถัดไปให้ถือเป็นวันฟ้อง โดยการยื่นฟ้องสามารถทำที่ไหนก็ได้ใช้ระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบในทุกขั้นตอน มีขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อประชาชนเป็นอย่างมาก

เมื่อได้รับความเสียหาย ไม่ต้องเดินทางมาศาลไม่ต้องนำกระดาษมายื่นฟ้องศาลเหมือนคดีปกติได้ อีกทั้งผู้เสียหายสามารถติดตามความคืบหน้าได้ใน 12 ชั่วโมง นับแต่ยื่นเรื่องเข้ามา ซึ่งถือว่ารวดเร็วมากในการพิจารณาคดีขณะนี้

ณ ปัจจุบันศาลที่สามารถยื่นฟ้องออนไลน์ได้ มีเพียง 30 ศาลในประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้ความสะดวกที่เอื้อต่อประชาชนแต่กลับไม่คลอบคลุมทุกพื้นที่

30 ศาลเท่านั้นที่ใช้ระบบออนไลน์ ได้แก่

  • ศาลแพ่ง
  • ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
  • ศาลแพ่งพระโขนง
  • ศาลแพ่งมีนบุรี
  • ศาลแพ่งธนบุรี
  • ศาลแพ่งตลิ่งชัน
  • ศาลแขวงพระนครเหนือ
  • ศาลแขวงพระนครใต้
  • ศาลแขวงดอนเมือง
  • ศาลแขวงดุสิต
  • ศาลแขวงธนบุรี
  • ศาลแขวงนนทบุรี
  • ศาลจังหวัดนนทบุรี
  • ศาลแขวงสมุทรปราการ
  • ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
  • ศาลจังหวัดธัญบุรี
  • ศาลจังหวัดชลบุรี
  • ศาลจังหวัดพัทยา
  • ศาลแขวงพัทยา
  • ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ศาลแขวงนครราชสีมา
  • ศาลจังหวัดนครราชสีมา
  • ศาลจังหวัดภูเขียว
  • ศาลจังหวัดอุบลราชธานี
  • ศาลจังหวัดเชียงใหม่
  • ศาลจังหวัดแพร่
  • ศาลจังหวัดสมุทรสาคร
  • ศาลจังหวัดเพชรบุรี
  • ศาลจังหวัดภูคเก็ตและ
  • ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นฟ้องคดี

1. เอกสารบัตรประจำตัวประชาชนผู้ฟ้อง (โจทก์)

2. เอกสารของผู้ถูกฟ้อง (จำเลย)

  • กรณีบุคคลธรรมดา ทะเบียนราษฎร์/บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีนิติบุคคล เลขนิติบุคคล ที่ตั้งนิติบุคคล (ค้นหาผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

*ส่วนที่ 2 เป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่มีไม่สามารถยื่นฟ้องคดีออนไลน์ได้เลย

3. หลักฐานประการยื่นฟ้องคดี อาทิ  สัญญากู้ยืมเงิน หลักฐานแชท ใบชำระเงิน ข้อกำหนดต่างๆ (สิ่งเหล่านี้ต้องเกี่ยวข้องกับการฟ้องคดี)

4.ให้ระบุความต้องการ (คำขอท้ายฟ้อง) เช่น มีความเสียหายอย่างไร ต้องการให้ชดใช้อะไร และเท่าไหร่

5. เลือกวันนัดไกล่เกลี่ยหรือพิจารณาคดี ตามความต้องการของผู้ฟ้องคดี (และต้องเป็นวันที่ศาลมีคดีพิจารณาด้วยเช่นกัน)

6. เอกสารทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อผู้ฟ้อง ทุกฉบับ

7. เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ให้ชำระค่าธรรมเนียมศาล 2เปอร์เซ็นของเงินที่เรียกร้อง

คำแนะนำจากทางปฏิบัติจริง

แม้ว่าศาลได้ออกแบบระบบในการดำเนินคดีแบบออนไลน์ไว้แล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถดำเนินคดีที่สู้กัน 2 ฝ่ายได้จริงๆ เพราะรายละเอียดในการสืบพยานนั้นยังไม่มีวิธีทำแบบออนไลน์ได้มีประสิทธิภาพจริงๆ

แต่หากพูดในส่วนของการยื่นเอกสารหรือการดำเนินคดีที่เป็นฝ่ายเดียวยอมรับเลยว่า สะดวกขึ้นเยอะเลยครับ ดีกว่าเดินทาง 1 ชั่วโมงนั่งรอ 1 ชั่วโมงเพื่อดำเนินคดี 30 นาที!

ยังไงก็ตามส่วนนี้เป็นเพียงการยื่นฟ้องคดีเท่านั้น ส่วนเรื่องการว่าความด้วยตนเองหรือกังวลว่าไม่มีทนายความคดีความจะทำยังไง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ “ว่าความด้วยตนเอง”

เนื้อหา: ชวัลรัชญ์ รามัญเพ็ง
เรียบเรียงทนายแชมป์

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

2 thoughts on “ขั้นตอนและวิธีฟ้องศาลออนไลน์ “ด้วยตัวเอง”

  1. wichit sotawong says:

    ข้าพเจ้าจะขอยื่นหนังสือเพื่อขอประทานความเมตตาจากศาลไม่ให้มีการรังวัดที่ดินในส่วนที่นอกเหนือจากการจดจำนองกับธนาคารได้หรือไม่

  2. วุฒิ says:

    ศาลต่างจังหวัดทำไมฟ้องออนไลน์ไม่ได้

ใส่ความเห็น