ฝึกงานควรได้ค่าจ้างหรือไม่?

internship th

สารบัญ

การฝึกงานคืออะไร?

การฝึกงาน

หมายถึง กระบวนการเพื่อเพิ่มทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ ที่ช่วยให้ผู้ฝึกงานมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานจริงจากสถานประกอบการ และเพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานที่ดี และสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การฝึกงานยังส่งผลให้ผู้ฝึกงานได้เรียนรู้ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และเทคนิคการทำงาน  ตลอดจนวิธีการสร้างสรรค์ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่น ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไปได้นะครับ

การทดลองงาน (Probation)

หมายถึง เป็นช่วงเวลาสั้นๆที่นายจ้างให้พนักงานใหม่โดยทำงานภายใต้การทดลอง เพื่อที่จะประเมินความสามารถ ทักษะ และความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ได้รับ ซึ่งการทดลองงานมักมีระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน และในช่วงนี้นายจ้างสามารถตัดสินใจได้ว่าจะรับพนักงานให้อยู่ต่อหรือไม่ จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นต้องขึ้นอยู่กับผลการประเมินที่ได้จากการทำงานในช่วงทดลองงานจากนายจ้าง หากพนักงานผ่านการทดลองงาน นายจ้างจะให้พนักงานเป็นพนักงานประจำ และอาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่บริษัทกำหนด แต่หากไม่ผ่าน นายจ้างมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกการจ้างงานได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้านะครับ

การฝึกงาน แตกต่างจาก การทดลองงาน หรือไม่

ผมสามารถแบ่งได้เป็นหัวข้อได้ดังนี้ครับ

1.วัตถุประสงค์

  • การทดลองงาน: เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อประเมินพนักงานใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อดูว่าพนักงานสามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ และเพื่อดูความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ
  • การฝึกงาน: เป็นโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานได้ฝึกฝนทักษะและเรียนรู้การทำงานในสภาพแวดล้อมจริง ดดยส่วนใหญ่มักเป็นนักศึกษาหรือผู้ที่เพิ่งจบการศึกษานะครับ

2.สถานะของผู้ทำงาน

  • การทดลองงาน: ผู้ที่อยู่ในช่วงทดลองงานถือว่าเป็นพนักงานของบริษัท และมีโอกาสที่จะกลายเป็นพนักงานประจำหลังจากผ่านการประเมิน
  • การฝึกงาน: ผู้ฝึกงานไม่ถือว่าเป็นพนักงานประจำ และมักจะเป็นการชั่วคราวเท่านั้น

3.ระยะเวลา

  • การทดลองงาน: มักมีระยะเวลา 3-6 เดือน
  • การฝึกงาน: ระยะเวลาอาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับโปรแกรมการฝึกงานของบริษัทฯนั้นๆได้กำหนดไว้ครับ

4.ค่าตอบแทน

  • การทดลองงาน: พนักงานในช่วงทดลองงานมักจะได้รับค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้กับนายจ้าง
  • การฝึกงาน: ผู้ฝึกงานอาจได้รับค่าจ้างหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทและประเภทของการฝึกงาน

5.เป้าหมายหลังสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน

  • การทดลองงาน: หลังสิ้นสุดระยะเวลาทดลองงาน นายจ้างจะตัดสินใจว่าจะให้พนักงานนั้นเป็นพนักงานประจำหรือไม่
  • การฝึกงาน: หลังสิ้นสุดระยะเวลาฝึกงาน ผู้ฝึกงานอาจมีโอกาสได้รับการพิจารณาเป็นพนักงานประจำ แต่ไม่มีการรับประกัน

กฎหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง ฉบับล่าสุด

กฎหมายแรงงานประเทศไทยนั้นมี 4 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 กฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ หรือ (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566)

ประเภทที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับ การจัดหางาน หรือ (พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ 3)

ประเภทที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับ การประกันสังคม หรือ (พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๘)

ประเภทที่ 4 กฎหมายเกี่ยวกับ การพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ (พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕)

กฎหมายแรงงาน เลิกจ้าง

“การบอกเลิกสัญญาจ้าง” หมายความว่า การแสดงเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ต้องการยุติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างและลูกจ้าง ที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติต่อกันภายใต้กฎหมายแรงงาน

เว้นแต่กรณีที่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าโดยกฎหมายแรงงาน ซึ่งกฎหมายแรงงานได้กำหนดวิธีในการเลิกสัญญาจ้างแรงงานเอาไว้ว่า แต่ละฝ่ายจะต้องทำอย่างไรบ้าง และถ้ามีการเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

โดยในกรณีที่มีการเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดนั้นก็ยังคงมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องนี้จะต้องมีความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยหลักการสำคัญในเรื่องนี้สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

1. สัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดระยะเวลาการจ้าง

สัญญาจ้างซึ่งมีกำหนดระยะเวลาจ้างเช่น นายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาจ้างระยะเวลา ๑ ปีนับแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึง วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง ความเป็นนายจ้างลูกจ้างย่อมสิ้นสุดลง โดยทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

2. กรณีสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้าง

การเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้าง ฝ่ายที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น โดยจะต้องบอกเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน

ต่อมาเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง นั้นสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ

2.1 นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า และให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบระยะเวลาที่แจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้าง

เมื่อบอกเลิกสัญญาจ้างสามารถให้ลูกจ้างออกจากงานทันที แต่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจนถึงวันที่สัญญามีผลเลิกกัน หากนายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวิธีข้างต้นนี้ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้อง ต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานได้นะครับ

2.2 ส่วนกรณีลูกจ้างประสงค์จะบอกเลิกสัญญาจ้าง

คือ ลูกจ้างสามารถแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าและทำงานต่อไปจนครบระยะเวลาที่แจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างไม่แจ้งนายจ้างล่วงหน้าและออกจากงานไปเฉยๆ นั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงาน ลูกจ้างอาจจะต้องรับผิดชอบกรณีเกิดค่าเสียหาย โดยนายจ้างสามารถฟ้องต่อศาลแรงงานได้เช่นกันนะครับ

ค่าแรงขั้นต่ำ 2567 แต่ละจังหวัด

1. 370 บาท มี 1 จังหวัด คือ

  • จังหวัดภูเก็ต (เดิม 354 บาท)

2. 363 บาท มี 6 จังหวัด คือ

  • กรุงเทพมหานคร (เดิม 353 บาท)
  • นครปฐม (เดิม 353 บาท)
  • นนทบุรี (เดิม 353 บาท)
  • ปทุมธานี (เดิม 353 บาท)
  • สมุทรปราการ (เดิม 353 บาท)
  • สมุทรสาคร (เดิม 353 บาท)

3. 361 บาท มี 2 จังหวัด คือ

  • ชลบุรี (เดิม 354 บาท)
  • ระยอง (เดิม 354 บาท)

4. 352 บาท มี 1 จังหวัด คือ

  • นครราชสีมา (เดิม 340 บาท)

5. 351 บาท มี 1 จังหวัด คือ

  • สมุทรสงคราม (เดิม 338 บาท)

6. 350 บาท มี 6 จังหวัด คือ

  • พระนครศรีอยุธยา (เดิม 343 บาท)
  • สระบุรี (เดิม 340 บาท)
  • ฉะเชิงเทรา (เดิม 345 บาท)
  • ปราจีนบุรี (เดิม 340 บาท)
  • ขอนแก่น (เดิม 340 บาท)
  • เชียงใหม่ (เดิม 340 บาท)

7. 349 บาท มี 1 จังหวัด คือ

  • ลพบุรี (เดิม 340 บาท)

8. 348 บาท มี 3 จังหวัด คือ

  • สุพรรณบุรี (เดิม 340 บาท)
  • นครนายก (เดิม 338 บาท)
  • หนองคาย (เดิม 340 บาท)

9. 347 บาท มี 2 จังหวัด คือ

  • กระบี่ (เดิม 340 บาท)
  • ตราด (เดิม 340 บาท)

10. 345 บาท มี 15 จังหวัด คือ

  • กาญจนบุรี (เดิม 335 บาท)
  • ประจวบคีรีขันธ์ (เดิม 335 บาท)
  • สุราษฎร์ธานี (เดิม 340 บาท)
  • สงขลา (เดิม 340 บาท)
  • พังงา (เดิม 340 บาท)
  • จันทบุรี (เดิม 338 บาท)
  • สระแก้ว (เดิม 335 บาท)
  • นครพนม (เดิม 335 บาท)
  • มุกดาหาร (เดิม 338 บาท)
  • สกลนคร (เดิม 338 บาท)
  • บุรีรัมย์ (เดิม 335 บาท)
  • อุบลราชธานี (เดิม 340 บาท)
  • เชียงราย (เดิม 332 บาท)
  • ตาก (เดิม 332 บาท)
  • พิษณุโลก (เดิม 335 บาท)

11. 344 บาท มี 3 จังหวัด คือ

  • เพชรบุรี (เดิม 335 บาท)
  • ชุมพร (เดิม 332 บาท)
  • สุรินทร์ (เดิม 335 บาท)

12. 343 บาท มี 3 จังหวัด คือ

  • ยโสธร (เดิม 335 บาท)
  • ลำพูน (เดิม 332 บาท)
  • นครสวรรค์ (เดิม 335 บาท)

13. 342 บาท มี 5 จังหวัด คือ

  • นครศรีธรรมราช (เดิม 332 บาท)
  • บึงกาฬ (เดิม 335 บาท)
  • กาฬสินธุ์ (เดิม 338 บาท)
  • ร้อยเอ็ด (เดิม 335 บาท)
  • เพชรบูรณ์ (เดิม 335 บาท)

14. 341 บาท มี 5 จังหวัด คือ

  • ชัยนาท (เดิม 335 บาท)
  • สิงห์บุรี (เดิม 332 บาท)
  • พัทลุง (เดิม 335 บาท)
  • ชัยภูมิ (เดิม 332 บาท)
  • อ่างทอง (เดิม 335 บาท)

15. 340 บาท มี 16 จังหวัด คือ

  • ระนอง (เดิม 332 บาท)
  • สตูล (เดิม 332 บาท)
  • เลย (เดิม 335 บาท)
  • หนองบัวลำภู (เดิม 332 บาท)
  • อุดรธานี (เดิม 328 บาท)
  • มหาสารคาม (เดิม 332 บาท)
  • ศรีสะเกษ (เดิม 332 บาท)
  • อำนาจเจริญ (เดิม 332 บาท)
  • แม่ฮ่องสอน (เดิม 332 บาท)
  • ลำปาง (เดิม 332 บาท)
  • สุโขทัย (เดิม 332 บาท)
  • อุตรดิตถ์ (เดิม 335 บาท)
  • กำแพงเพชร (เดิม 332 บาท)
  • พิจิตร (เดิม 332 บาท)
  • อุทัยธานี (เดิม 332 บาท)
  • ราชบุรี (เดิม 332 บาท)

16. 338 บาท มี 4 จังหวัด คือ

  • ตรัง (เดิม 332 บาท)
  • น่าน (เดิม 328 บาท)
  • พะเยา (เดิม 335 บาท)
  • แพร่ (เดิม 332 บาท)

17. 330 บาท มี 3 จังหวัด คือ

  • นราธิวาส (เดิม 328 บาท)
  • ปัตตานี (เดิม 328 บาท)
  • ยะลา (เดิม 328 บาท)

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย