หนึ่งในธุรกิจที่มีการเปิดและปิด เยอะที่สุดตลอดหลายสิบปีมานี้ตั้งแต่ “ก่อนยุคคาเฟ่” เสียอีกสำหรับ “ธุรกิจร้านกาแฟ” นอกจากเรื่องรายได้ รายจ่ายหรือปัจจัยทางธุรกิจแล้ว ยังมีเหตุผลทางกฎหมายอีกด้วยที่ ต้องรู้ก่อนเปิดร้าน วันนี้เราจึงคัดและจัดกลุ่มเป็นส่วนๆ เพื่อให้ทบทวนก่อนเปิดร้านว่ามีการคิด หาความรู้หรือทบทวนเรื่องนี้มาบ้างหรือยัง
สารบัญ
-
เปิดร้านกาแฟ ต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างร้าน
-
เปิดร้านกาแฟ เงื่อนที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเครื่องดื่ม อาหาร
-
ร้านกาแฟ จ้างพนักงาน กฎหมายแรงงาน
-
กฎหมายหุ้นส่วน (มีหุ้นส่วน)
-
ร้านกาแฟกับลิขสิทธิ์
-
เปิดร้านกาแฟต้องรู้ภาษีเบื้องต้น
เปิดร้านกาแฟ ต้องรู้กฎหมายอะไรเกี่ยวกับโครงสร้างร้าน
การเปิดร้านกาแฟนั้น แน่นอนว่าเราอาจจะไม่ได้มีสถานที่เป็นของเราเอง อาจจะต้องเช่าร้านจากบุคคลอื่น ซึ่งเมื่อมีการเช่าร้านนั้นต้องมีการทำสัญญาเช่านั้นเองค่ะ
- สัญญาเช่า เราต้องทราบกฎหมายเบื้องต้นหรือข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการทำสัญญาเช่า ซึ่งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีการกำหนดข้อกฎหมายขอการเช่าไว้หลายส่วน ทั้งนี้ขอแนะนำเบื้องต้นเรื่องของสัญญาเช่าหัวข้อที่สำคัญและเรื่องที่ควรปฏิบัติค่ะ
- สัญญาเช่าที่มีระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป ต้องมีการดำเนินการจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานที่ดิน เพื่อบันทึกไว้ในข้อมูลของสารระบบที่ดินว่ามีการเช่าค่ะ
- ควรกำหนดเรื่องของการต่อสัญญาที่ชัดเจน เช่น หากผู้เช่าต้องการจะเช่าต่อ ผู้เช่าจำต้องบอกกล่าวการขอต่อสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าล่วงหน้าก่อนสัญญาเดิมจะสิ้นสุดลงอย่างน้อยสองเดือน เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะเมื่อธุรกิจกำลังไปได้ดี แต่หากไม่สามารถต่อสัญญาเช่าได้หรือโดนเรียกค่าเช่าสูงมากๆ จะเป็นปัญหาได้
- ควรกำหนดเหตุในการเลิกสัญญาหรือผิดสัญญาที่ชัดเจน การกำหนดส่วนนี้ที่คลุมเครืออาจเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ค่ะ นอกจากนี้
หากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจบางรายต้องการจะสร้างร้านเอง ก็ต้องมีข้อพิจารณากันต่อไปค่ะ เช่น เรื่องของการขออนุญาตก่อนสร้าง ซึ่งบางร้านนั้นมีรูปแบบที่จะสร้างเป็นตึก, อาคาร ซึ่งการก่อสร้างนั้นต้องทำไปตามแบบที่กฎหมายกำหนด หรือให้มีความปลอดภัยตามแบบที่เหมาะสม จึงต้องขอในอนุญาตก่อสร้าง หากไม่ขอมีโทษทางกฎหมายได้ค่ะ ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นที่จะขอมีดังนี้
- เอกสารสำหรับใช้ขอ ใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน
- ใบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1)
- แบบแปลนบ้าน และ รายละเอียดการก่อสร้าง
-
- หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุม และ เอกสารจากวิศวกร
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านเจ้าของอาคารที่จะก่อสร้าง การขอใบอนุญาตชนิดนี้นั้นต้องดำเนินการขอที่สำนักงานเขต หรืออำเภอในพื้นที่ค่ะ
เงื่อนไขที่ต้องรู้เกี่ยวกับใบอนุญาตเครื่องดื่ม อาหาร
เครื่องดื่ม บางธุรกิจที่ขายเครื่องดื่มหรือแอลกอฮอลล์ จะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตจำหน่ายแอลกอฮอลล์ค่ะ ซึ่งใบอนุญาตจำหน่ายแอลกอฮอลล์นี้ คือการขอใบอนุญาตจำหน่ายบุหรี่เช่นกัน หากไม่ขอและดำเนินธุรกิจมีความผิดทางกฎหมายอและร้านอาจจะต้องหยุดหรือปิดตัวลงตามระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดค่ะ ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นในการขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรานั้นมีดังนี้ค่ะ ข้อมูลการยื่นเบื้องต้น
- ยื่นที่สรรพสามิตในพื้นที่
- สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแทนได้
- ค่าธรรมเนียม สุรา 330 บาท บุหรี่ 100 (หากขออนุญาตในนามนิติบุคคลที่ได้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ค่าธรรมเนียมจะสูงกว่านี้นิดหน่อยค่ะ
- ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี ต้องต่อก่อนหมด 90 วัน
การเปิดร้านอาหารนั้น เพื่อให้เป็นไปตามแบบที่ทางกฎหมายกำหนด และให้ถูกต้องตามสุขอนามัย ต้องมายื่นขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหารค่ะ ใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร ซึ่งการยื่นขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหารนั้นต้องยื่นกับฝ่ายสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งการยื่นนั้นต้องยื่นข้อมูลของลูกจ้างของร้านไปด้วย 1 คน ซึ่งบุคคลที่ยื่นเข้าไปพร้อมกับขออนุญาตนั้น ต้องมีใบอนุญาติประกอบอาหาร ซึ่งใบอนุญาตประกอบอาหารจะต้องไปอบรมเพื่อให้ได้บัตรตัวนี้มาค่ะ
การจ้างพนักงานและกฎหมายแรงงาน
การจ้างพนักงานในประเทศไทยภายใต้กฎหมายแรงงานจะต้องคำนึงถึงสิทธิและความคุ้มครองของลูกจ้างตามกฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง ตัวอย่างเช่น:
- ค่าจ้างและการชำระเงิน: ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 9 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในลักษณะที่เป็นธรรม ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดโดยกระทรวงแรงงานในแต่ละจังหวัด นอกจากนี้ ค่าจ้างต้องจ่ายในเวลาที่กำหนด เช่น รายสัปดาห์หรือรายเดือน และสามารถหักค่าชดเชยได้ตามกรณีที่กฎหมายอนุญาต
- การเลิกจ้าง: ในกรณีที่นายจ้างต้องการเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนและต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า หรือชำระค่าชดเชยตามระยะเวลาในการทำงาน ตามที่กฎหมายกำหนด
- การคุ้มครองการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย: กฎหมายแรงงานยังคุ้มครองการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยนายจ้างต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง เช่น การป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องจักรหรือสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต
กฎหมายหุ้นส่วน (Partnership Law)
การตั้งบริษัทหรือธุรกิจในรูปแบบของหุ้นส่วนจะมีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย:
สัญญาหุ้นส่วน: การจัดทำสัญญาหุ้นส่วนต้องมีความละเอียดและครอบคลุมทุกด้านของการร่วมลงทุนในธุรกิจ รวมถึงข้อกำหนดเรื่องการนำผลกำไรหรือขาดทุนมาแบ่งตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ทั้งนี้ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหุ้นส่วนจะต้องชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบในด้านการจัดการเงินทุน การบริหารงาน หรือการขออนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ
การบอกเลิกหุ้นส่วน: ควรกำหนดขั้นตอนการบอกเลิกหุ้นส่วนอย่างชัดเจน เช่น ต้องแจ้งล่วงหน้าเท่าไร และมีเงื่อนไขใดบ้างในการออกจากการเป็นหุ้นส่วน
สัดส่วนการถือหุ้น: สัดส่วนหุ้นจะเป็นตัวกำหนดการแบ่งผลกำไร การเสียภาษี และการมีสิทธิออกเสียงในเรื่องต่าง ๆ ของบริษัท การแบ่งสัดส่วนในสัญญาหุ้นส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ เช่น หุ้นส่วนคนหนึ่งอาจลงทุนในเงินทุนมากกว่าคนอื่น แต่จะมีส่วนแบ่งผลกำไรน้อยกว่าหากกำหนดสัดส่วนไม่เท่ากัน
ร้านกาแฟกับลิขสิทธิ์
การเปิดร้านกาแฟที่มีการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เพลง โลโก้ และการขออนุญาตลิขสิทธิ์มีผลต่อความปลอดภัยทางกฎหมายของธุรกิจ:
- เพลง การเปิดร้านกาแฟที่ใช้เพลงในร้านต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของเพลงนั้น โดยการขออนุญาตอาจจะทำผ่าน สมาคมนักแต่งเพลง หรือ องค์กรที่ดูแลลิขสิทธิ์เพลง เช่น สมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเพลง (PMP) เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจทำให้ถูกปรับหรือฟ้องร้องตามกฎหมาย
- โลโก้ โลโก้ของร้านกาแฟถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีค่า ดังนั้นการจดทะเบียนลิขสิทธิ์โลโก้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของร้านสามารถคุ้มครองสิทธิ์ในการใช้โลโก้และป้องกันการลอกเลียนแบบจากคู่แข่ง หรือจากผู้ที่อาจนำโลโก้ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
- ขออนุญาตลิขสิทธิ์ของตนเอง สำหรับเจ้าของร้านกาแฟที่สร้างผลงานเอง เช่น เพลงที่แต่งเอง หรือการออกแบบโลโก้ สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองผลงานของตัวเองได้ โดยการจดทะเบียนลิขสิทธิ์จะทำให้เจ้าของผลงานมีสิทธิ์ในการจัดการ ใช้ และควบคุมการใช้ผลงานนั้น ๆ โดยบุคคลอื่นไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ขออนุญาต
ภาษีเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการเปิดร้านกาแฟ
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดร้านกาแฟมีหลากหลายรูปแบบและเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยงในการละเมิดภาษี
ภาษีรายได้ (Income Tax) การคำนวณภาษีรายได้ของร้านกาแฟจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการจดทะเบียนธุรกิจ เช่น บุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือ บริษัทจำกัด ซึ่งการคำนวณภาษีต้องนำรายได้ทั้งหมดจากการขายสินค้าและบริการมาหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ดิน ค่าวัตถุดิบ แล้วนำมาคำนวณเพื่อหาภาษีที่ต้องชำระ
เพื่อวางแผนได้ว่าจะเปิดร้านในชื่อบุคคลธรรมดาหรือเป็นชื่อบริษัทดี แบบไหนจะคุ้มกว่า ประหยัดภาษีได้ดีกว่านั่นเอง
ภาษีอาคาร (Property Tax) ภาษีอาคารเป็นภาษีที่เจ้าของอาคารหรือผู้เช่าสถานที่ต้องจ่าย โดยการคำนวณภาษีอาจขึ้นอยู่กับราคาประเมินของอาคารหรือพื้นที่ที่ใช้ในกิจการ หากร้านกาแฟเช่าสถานที่จากเจ้าของ ก็จะต้องตรวจสอบว่าภาษีอาคารนี้ต้องมีการจ่ายโดยใครตามข้อตกลงในสัญญา
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT จะต้องถูกเรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีที่ร้านกาแฟมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยร้านต้องจดทะเบียน VAT และออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า ซึ่งจะทำให้ร้านสามารถหักภาษีจากการซื้อสินค้าที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เราประหยัดต้นทุนไปอีก 7% (อัตราปัจจุบัน)
หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการหักภาษีจากการจ่ายค่าบริการหรือค่าจ้างให้กับบุคคลภายนอก เช่น ค่าจ้างพนักงาน หรือค่าบริการจากซัพพลายเออร์ ซึ่งต้องหักภาษีตามอัตราที่กำหนดโดยกฎหมายและนำส่งให้กับกรมสรรพากรในเวลาที่กำหนด
สรุป
จะเห็นได้ว่าร้านกาแฟที่เป็นธุรกิจที่ทั่วไปนั้นยังมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากมาย ถ้าถามถึงผู้เรียบเรียงแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง “หุ้นส่วน” เพราะไม่ว่าธุรกิจจะไปได้ด้วยดีหรือไม่ดี มีกำไรหรือขาดทุน วันข้างหน้าจะเจอปัญหาที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนอย่างแน่นอนค่ะ
เนื้อหาโดย ทนายจัสมิน / เรียบเรียงโดย ทนายแชมป์
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.