สารบัญเนื้อหา
การเสียภาษีบุคคลธรรมดา เสียเท่าไหร่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ
ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ยื่นภาษีออนไลน์
การเสียภาษี บุคคลธรรมดา เสียเท่าไหร่
น่าเสียดายมากจริงๆ ที่เรื่องภาษีเป็นวิชาที่ไม่อยู่ในหลักสูตรพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาไทย และคนไทยเราขาดการปลูกผังเรื่องภาษีอย่างมาก
จนทำให้หลายคนเสียภาษีไม่ถูกต้องเพราะความ “ไม่รู้จักภาษี” หรือถูกเหมาไปเป็นพวก “เลี่ยงภาษี” หรือจ่ายภาษี “แพงกว่าที่ควรจะเป็น” เพราะขาดการวางแผนภาษี
วันนี้ผมจะมาเล่าให้กับคนที่เพิ่งทำงานใหม่ๆ และถึงเกณฑ์เสียภาษีแล้วฟังครับว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เราต้องเสียเป็นยังไงบ้าง เสียเท่าไหร่ และยื่นยังไงไม่โดนค่าปรับ
ภาษี คือ
เงินหรือผลประโยชน์ ที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับรัฐบาลหรือฝ่ายที่บริหารประเทศ เพื่อให้รัฐบาลมีเงินส่วนกลางเอาไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารแผ่นดินในส่วนต่างๆ
ที่นี้หลักคิดเรื่องภาษีมีข้อเดียวที่เป็นหัวใจสำคัญคือ ภาษีจะคิดจากรายได้ของเราครับ ถ้าเรามีรายได้ก็ต้องเริ่มเสียภาษี รายได้เยอะก็เสียเยอะ รายได้น้อยก็เสียน้อยนั่นเองครับ
บทความนี้เราจะคุยกันเฉพาะส่วนที่เป็นภาษีขาของรายได้นะครับ ภาษีที่รัฐบาลบังคับด้านอื่นๆ เช่น อิงกับมรดก อิงกับนิติกรรม เป็นต้น อันนี้ขอยังไม่พูดถึงครับ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ
เป็นภาษีที่คำนวณจากรายได้ของเราในหนึ่งปีปฏิทิน โดยที่มองว่าเราเป็นคนปกติไม่ได้หารายได้ในแบบของหน่วยธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น
ซึ่งกฎหมายใช้คำว่า “ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา” อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่าภาษีประเภทนี้จะเป็นภาษีที่คำนวณมากจาก “รายได้” ของเราจริงๆ
ถามว่าแล้วสรรพากรรู้ได้ยังไงว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ สมัยนี้ตรวจสอบไม่ยากแล้วครับ สรรพากรไม่ได้มีสายสืบมาจับผิดเราคนเดียวแต่เขาใช้ “ข้อมูลภาษี” ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี โดยที่เราอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มาเป็นหลักฐานว่าเรามีรายได้นั้นๆ นั่นเอง เช่นหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่เวลาเราไปรับงานนอก งานเสริม หรืองานตามจ้างบริษัทที่จ้างเราก็จะออกหนังสือแบบนี้ไว้ให้เรา
นั่นแหละครับหลักฐานชิ้นแรก เพราะคนที่จ้างเราก็ต้องเอาข้อมูลว่าเขาจ่ายเงินให้เราเท่าไหร่ เป็นค่าจ้างยังไงบ้าง ไม่งั้นบริษัทจะเอาค่าจ้างที่จ่ายเราไปเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทไม่ได้
ดังนั้น ถ้ามีการออกหนังสือรับรองเงิน หัก ณ ที่จ่ายลัษกณะนี้ จำไว้ว่าสรรพากรมีข้อมูลเราแล้ว
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าสรรพากรรู้รายได้เราเท่าไหร่แล้วบ้างสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ ลิงค์นี้เลยครับ คลิ๊ก
รายการเดินบัญชีธนาคาร คือ ตั้งแต่ช่วงโควิดมาระบาดทำให้มีการขายของออนไลน์มากขึ้น จึงเกิดหลักเกณฑ์ที่สรรพากรบังคับให้ธนาคารส่งข้อมูลรายการเดินบัญชีมาให้สรรพากรตรวจสอบ
ซึ่งสิ่งที่สรรพากรมองหานั้น คือรายการเงินเข้าจำนวนอาจจะไม่ต้องเยอะ แต่จำนวนครั้งเยอะเยอะ เค้าจะตีความว่าเรามีรายได้จากการขายของหนึ่ง “โดยที่ยังไม่สนใจรายจ่ายหรือต้นทุนของเราเลย”
สรุปแล้วภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือภาษีที่คำนวณมาจากรายได้ของเรานั่นเอง
ค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่าย
พูดถึงแต่รายได้ถ้าเกิดว่าเอาแต่รายได้มาคำนวณภาษีอย่างเดียวก็จะโหดร้ายกันมากๆเลย เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กกลางใหญ่ ก็ย่อมมีต้นทุนเป็นรายจ่ายอยู่แล้วยกตัวอย่างเช่นเราอาจจะขายของหนึ่งชิ้นในราคา 100 บาทแต่เราไม่สามารถเอา 100 บาทไปคำนวณภาษีเงินได้ของเราได้เพราะเงินได้ของเราจริงมาจากตัวกำไรต่างหาก
ซึ่งภาษีก็เข้าใจดีครับเลยมีการกำหนดว่าอะไรเป็นค่าใช้จ่ายได้บ้างแล้วเป็นค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่เพื่อให้เกิด “เงินได้สุทธิเอาไปคำนวณภาษีต่อ ถ้าใครอยากศึกษาประเด็นเรื่อง “ค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายที่ กฎหมายกำหนดมาแบบไม่เท่าไปกัน คลิ๊กตรงนี้ได้เลย
การเสียภาษีบุคคลธรรมดา เสียเท่าไหร่
อย่างแรกให้เราหารายได้ที่เป็นรายได้สุทธิเสียก่อนหมายความว่าจากข้อที่อธิบายไปข้างต้นให้เราเอารายได้ของเราลบด้วยรายจ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ เราจะได้ค่าหนึ่งที่เรืยกว่า “เงินได้สุทธิ”
แล้วต่อไปก็ใช่เหรอครับเอาเงินได้สุทธินี่แหละมาคำนวณภาษีโดยที่การเสียภาษีเราจะเสียเป็นขั้นบันไดไม่ได้มีตัวเปอร์เซ็นต์ตายตัวเหมือนในหลายประเทศ โดยมีดังนี้
ปี 2565 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีดังนี้:
- รายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
- รายได้ 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
- รายได้ 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
- รายได้ 500,001 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
- รายได้ 750,001 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
- รายได้เกิน 1,000,000 บาท เสียภาษี 35%
แต่ก่อนที่จะไปเริ่มคำนวณผมอยากจะเล่าให้ฟังถึงคนที่คำนวณผิดนะครับสมมติจากตัวอย่างมีรายได้ทั้งปีในเดือนนี้ 500,000 บาทการเสียภาษีนั้นจะต้องคิดเป็นขั้นบันไดไปหมายความว่า 150,000 บาทแรกไม่เสียภาษี 150,000 บาทที่หนึ่งกับ 300,000 ก็ต้องเสียภาษีในเรท 5% เป็นก้อนแรก ส่วนรายได้ตั้งแต่ 300,001 บาทบาทถึง 500,000 บาทนั้นก็เสียภาษีในอัตรา 10% เป็นเงินภาษีก้อนที่สอง
ทีนี้เราก็เริ่มคำนวณภาษีของเราได้เลยครับ
ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ยื่นภาษีออนไลน์
การยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั้นสามารถยื่นได้สองวิธีครับคือหนึ่งการยื่นโดยปริ้นกระดาษกรอกแบบฟอร์มไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้านหรือแบบที่สองคือการยื่นภาษีออนไลน์
ผมเองเคยยื่นภาษีมาทั้งสองแบบแล้วขอบอกเลยว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์นั้นสะดวกกว่ามากๆเนื่องจาก ทางเว็บไซต์ของทางสรรพากรนั้นจะเป็นลักษณะของการให้กรอกข้อมูลแล้วจะมีการคำนวณภาษีพร้อมคำแนะนำว่าเราเป็นรายได้แบบไหนควรมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างให้เรากรอกแบบง่ายมากๆเลยครับ นอกจากนี้หากว่าเราลองกรอกข้อมูลดูแล้วเห็นว่ามันไม่ถูกต้องหรือตัวเลขการเสียภาษีนั้นสูงเกินไปเราสามารถที่จะกดเซฟหรือบันทึกร่างข้อมูลดังกล่าวไว้แต่ยังไม่ได้ยื่นจริงต่อสรรพากรได้อีกด้วย
เว็บไซต์นี้เลยครับ คลิ๊ก
แต่ระวังนะครับการยื่นภาษีนั้นก็มีกำหนดระยะเวลาที่จำกัดเหมือนกันโดยเราจะต้องยื่นไม่เกินเดือนมีนาคมของปีถัดไป แต่ถ้าเกิดว่ายื่นเป็นออนไลน์จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 9 เมษายน
อย่างไรก็ดี หากลองคำนวณดูแล้วเห็นว่าภาษีที่เราจะต้องเสียนั้นสูงมากๆ และเรามีรายได้หลายทาง โดยทางนั้นมาจากวิชาชีพ หรือธุรกิจส่วนตัวของเรา แนะนำให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีดู เพื่อวางแผนภาษีให้เสียภาษีอย่างถูกต้องและน้อยที่สุด
ถ้าหากว่าไม่รู้จะปรึกษาใครสามารถติดต่อมาปรึกษาทนายความของสำนักงานได้เลย ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีที่จะมาคอยวางแผนภาษี และให้คำแนะนำในการเสียภาษีให้อย่างถูกต้องเลยครับ
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.