ภาษีนิติบุคคล

บริการวางแผนภาษีนิติบุคคล

บัญชีและภาษี เรื่องเล็กๆ ที่สร้างความเสียหายให้ไม่หยุด

ภาษีนิติบุคคล คืออะไร

“ภาษีเงินได้นิติบุคคล” คือ ภาษีที่นิติบุคคลจะต้องจ่ายให้กับสรรพากร โดยจะคำนวณจากกำไรในปีงบการเงินนั้นๆ และคำนวณเป็นภาษีที่ต้องจ่ายออกมา

อัตราภาษีของบริษัททั่วไปจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธินั่นเอง ทั้งนี้นอกจากภาษีรายได้แล้ว ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าของกิจการควรทราบเช่นกัน

     อัตราที่เสีย คือ 20%

ของกำไรสุทธิ เช่น หากบริษัท สามพันโบก จำกัด มีกำไร (รายได้-รายจ่าย ในทางบัญชี) = 500,000 บาท ในปี 2564 บริษัท (นิติบุคคล) จะต้องเสียภาษีเงินได้ 500,000 * 20% = 100,000 บาท นั่นเอง แต่ถ้าหากบริษัท (นิติบุคคล) นี้เป็นนิติบุคคลแบบ SME จะได้รับการยกเว้นและเสียในอัตราที่น้อยลง กล่าวคือ

ถ้าบริษัทหรือนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนที่ชำระค่าหุ้นมาแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท (ทุนไม่เกิน 5 ล้าน) และมีรายได้ไม่เกิน 30,000,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนของกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก

และกำไรตั้งแต่ 300,001 – 3,000,000 บาท จะเสียภาษีแค่ 15% เท่านั้น
จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าบริษัท สามพันโบก จำกัด เป็นบริษัท SME รายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาท ในส่วนของกำไรสุทธิ 500,000 บาท 300,000 บาทแรกจะไม่เสียภาษี

และในส่วนของ 300,001 – 500,000 บาท = 200,000 บาท จะเสียภาษี 15% = 30,000 บาท

จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นเราบริษัท SME จะประหยัดภาษีไปได้ตั้ง 70,000 บาท ซึ่งหากเรารู้เรื่องนี้ เราก็จะทำให้บริษัทของเราเป็น SME หลายๆ บริษัท ก็จะได้รับประโยชน์ด้านภาษีตรงนี้ (นี่เป็นตัวอย่างของการวางแผนภาษีนะครับ)

อัตราภาษีนิติบุคคล SME
อัตราการเสียภาษี นิติบุคคล SMEs ตั้งแต่รอบบัญชี มกราคม 2560 เป็นต้นไป

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อเราทำกิจการในรูปแบบ นิติบุคคล หรือบริษัท รายได้มักจะถึงเกณฑ์ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกันแล้ว โดยภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบันกรมสรรพากรกำหนดอยู่อัตรา 7% ของราคาสินค้าและบริการ

โดยบริษัทหรือนิติบุคคลจะต้องนำส่ง ภาษีนิติบุคคล ตรงนี้ให้กับสรรพากรทุกเดือนจากรายได้ของเราที่เรียกเก็บมาจากลูกค้า ซึ่งหากเราไม่นำส่งหรือลืม จะมีค่าปรับย้อนหลังที่มหาโหดมากๆ ตรงนี้ห้ามมองข้ามเด็ดขาด

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนิติบุคคล

เมื่อเรามีการจ่ายเงินให้กับนิติบุคคลอื่น หรือบุคคลธรรมดาในบางกรณีจะมีการ หัก ณ ที่จ่าย (ปลายทางได้เงินไม่ครบ) ซึ่งเงินที่เราหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ เราต้องนำส่งสรรพากรเช่นกัน จะเก็บไว้เองไม่ได้นะครับ

วางแผนภาษีนิติบุคคล สำคัญยังไง

การวางแผนภาษีสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากทำให้เราเสียภาษีน้อยลงแล้วยังจะเป็นแนวทางบังคับให้เราเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย จากตัวอย่างเรื่องประโยชน์ทางภาษีของบริษัท SME ข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประหยัดภาษีไปได้ถึง 70%

นี่คือตัวอย่างของการวางแผนภาษี การวางแผนภาษีไม่ใช่การเลี่ยงภาษีแต่เป็นการเสียภาษีได้น้อยที่สุดโดยถูกต้องด้วยกฎหมาย

นักกฎหมายภาษี จะมีข้อมูล ความรู้และวิธีการหลายอย่างที่จะวางแผนให้บริษัทคุณเข้าเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี หรือประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ (อย่างตัวอย่างข้างต้น) ซึ่งเมื่อเข้าเงื่อนไขหลายๆ อันแล้วก็จะทำให้บริษัททั้งหมดเสียภาษีน้อยลงไปเยอะมากเลยทีเดียว

อีกเรื่องที่สำคัญควบคู่กับการวางแผนภาษี (ต้องทำด้วยกัน) คือ การบันทึกทางบัญชีที่ถูกต้อง

การคำนวณตัวเลขไม่เรื่องยากในทางภาษี ความซับซ้อนวุ่นวาย อยู่ที่การบันทึกทางบัญชีว่า รายได้ รายจ่าย ได้รับการบันทึกและมีเอกสารถูกต้องหรือไม่

หากว่ามีรายจ่ายเข้ามาแต่ไม่สามารถบันทึกและมีเอกสารได้ถูกต้องตามกฎหมายเงินที่เอาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูก “บวกกลับ” มาเป็นรายได้ ทำให้รายได้เราสูงกว่าความเป็นจริง กำไรสุทธิที่จะไปคำนวณภาษีก็สูง ภาษีที่เสียก็ยิ่งสูงเข้าไปใหญ่

บันทึกรายจ่ายถูกต้อง
รายจ่ายที่ไม่ถูกต้องจะถูกบวกกลับไปเป็นรายได้

วิธีการวางแผนภาษี

เรื่องภาษีนิติบุคคล ในส่วนของการวางแผนภาษีจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ผมจึงขอนำหลักเกณฑ์กว้างๆ ให้เห็นภาพและขั้นตอนในการวางแผนภาษี ดังนี้

ชื่อนิติบุคคล ในการเบิกจ่ายหัวใบกำกับภาษี

บันไดขั้นแรกคือ เวลาคุณไปซื้อของหรือต้นทุนขายต่างๆ ต้องมีเอกสารที่ระบุชื่อบริษัทฯ ของคุณให้ถูกต้องครบถ้วน ชื่อ, สำนักงานใหญ่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ เบอร์ติดต่อ

ลงบันทึกทางบัญชีให้ถูกต้อง

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าเราลงบันทึกรายการทางบัญชีไม่ถูกต้องแล้ว เราจะโดนค่าปรับย้อนหลัง เยอะมากๆ ซึ่งหลายบริษัทฯ ไปต่อไม่ได้เมื่อสรรพากรเข้าไปตรวจเลยทีเดียว ดังนั้นก่อนที่คุณจะคาดหวัง แผนภาษีสุดอลังการ คุณต้องตรวจเช็คและวางระบบบัญชีภายในให้ถูกต้องเสียก่อน
เอกสารทางบัญชีก็ต้องทำให้ถูกต้องเช่น ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเบิกเงิน

ส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เป็นเรื่องง่ายๆ ที่หลายธุรกิจไม่ยอมทำ การที่คุณชะล่าใจไม่ยอมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) รายเดือน และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อคุณหัก ณ ที่จ่ายคู่ค้าเอาไว้ เมื่อสรรพากรตรวจเจอคุณเจอปัญหาใหญ่อีกแน่นอน

แยกกิจการครองความเป็น SME

ตามตัวอย่างเรื่อง SME ข้างต้น เมื่อคุณต้องการขยายธุรกิจ ให้คุณเปิดบริษัทเพิ่มเพื่อรับผิดชอบธุรกิจใหม่ และรับประโยชน์ของการยกเว้นและลดหย่อนภาษี SME ได้ทั้งสองบริษัท

วางแผนภาษีโครงสร้างหลัก

เมื่อพื้นฐานบัญชีและภาษีของบริษัทคุณดีแล้ว ผมแนะนำให้คุณขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี วางแผนภาษีโครงสร้างหลักให้ ซึ่งแผนนี้จะไม่ปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง เป็นแกนกลางของธุรกิจของคุณ

ผู้เชี่ยวชาญจะเข้าไปศึกษาธุรกิจของคุณ และแจ้งว่ามีผลประโยชน์ทางภาษีส่วนไหนบ้างที่คุณสามารถเข้าเงื่อนไขได้ และทำตัวให้เข้าเงื่อนไขนั่นเอง

อัพเดทผลประโยชน์ทางภาษี

กรมสรรพากร จะมีการอัพเดทมาตรการทางภาษีอยู่บ่อยครั้งอยู่แล้ว คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ หรือคุณจะหาผู้เชี่ยวชาญมาทำเรื่องนี้แทนคุณก็ได้เช่นกัน

วางแผนภาษี
การวางแผนภาษี จะทำให้เสียภาษีน้อยลง และถูกกฎหมาย

ผลกระทบ หากไม่วางแผนภาษีนิติบุคคล

การไม่วางแผนภาษี จะทำให้นิติบุคคลของคุณเสียภาษีสูงเกินกว่าที่ควร 

ยิ่งคุณมีรายได้มาก 20% ของกำไรสุทธิก็จะยิ่งเยอะตามไปด้วย

ยังไม่นับเรื่องของค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่คุณไม่ทำเอกสารทางบัญชีและภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย การที่ไม่ยอมนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ซึ่งนอกจากจะประหยัดภาษีไม่ได้แล้ว คุณยังจะต้องโดนสรรพากรฟ้องร้องอีกด้วย

หากคุณกำลังอยากพัฒนาระบบบัญชีและภาษีของบริษัทคุณและวางแผนภาษี ขอคืนภาษี ทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงิน ติดต่อทีมทนายความและทีมบัญชีของเราได้เลยครับ

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น