พินัยกรรมทำยังไง ทำไมต้องมี

บริการทำพินัยกรรม

คนไทยส่วนมากไม่สนใจที่จะทำพินัยกรรมเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องเสียเงินหาทนายความ หรือการมองโลกในแง่ดีว่าลูกหลานจะรักกันดีไม่ทะเลาะหรือแย่งสมบัติกัน จากประสบการณ์ที่ทำคดีมรดกมาเกือบ 10 ปีผมอยากบอกว่า “คิดผิด”

ทำไมต้องทำพินัยกรรม

การมีพินัยกรรมจะทำให้เรา “กำหนด” ได้ว่าจะให้ทรัพย์สินของเราตกทอดสู่ใครได้บ้าง บางครั้งคนที่เราอยากให้มรดกนั้นไม่ได้เป็นลูกเป็นหลานของเรา เเต่เป็นคนที่ทำดีกับเราในช่วงบั้นปลายชีวิต หรือ ลูกหลานของเราทั้งหมดทำตัวไม่ดีกับเราจนเราไม่อยากให้พวกเราได้รับอะไรจากเราไปเลย การ “กำหนด” เรื่องพวกนี้เราจำเป็นต้องทำ “พินัยกรรม” 

กฎหมายไม่ได้สามารถครอบคุลมได้ว่า กรณีแบบไหนใครควรหรือไม่ควรรับพินัยกรรมจากเรา ความจริงกฎหมายกำหนดได้เพียงเรื่องร้ายแรงเท่านั้น เช่น ลูกหลานทำร้ายร่างกาย ลูกหลานทำเรื่องผิดกฎหมายต่อเรา

 ซึ่งทางกฎหมายแล้วจะแบ่งทรัพย์มรดกไม่ตรงกับความสมเหตุสมผลหลายครั้ง เช่น มีที่ดินสวนผลไม้ 1 สวน หรือมีบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง แต่มีทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายอยู่ 3 คน แบบนี้ก็จะปวดหัวแล้วครับว่าควรแบ่งกันยังไงดี? เลยนำไปสู่การเอาออกขายและแบ่งเงินหรือการฟ้องร้องกันได้เพราะจะมีพี่น้องบางคนอยากเก็บของพ่อแม่ไว้ไม่อยากขายนั่นเอง

จึงไม่แปลกใจเลยครับว่าทำไมลูกหลานและทายาท มาขึ้นศาลทะเลาะกันเรื่องมรดกกันได้ทุกวัน

แต่ในความเป็นจริงยังมีพฤติกรรมอีกมากมายที่ทำให้เราไม่อยากให้ทรัพย์สิน เช่น ไม่ดูแลเรายามแก่เฒ่า หรือ มีคนอื่นที่สมควรได้รับมรดกมากกว่า อย่างเช่น หุ้นส่วนทางธุรกิจ พนักงานบริษัทที่ฝ่าฟันอุปสรรคด้วยกันมากหลายสิบปี เป็นต้น

ทำพินัยกรรมต้องใช้อะไรบ้าง

ถ้าเราตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำพินัยกรรม วันนี้ผมจะแนะนำเอกสารและขั้นตอนแบบง่ายๆ ให้ครับ

  1. สำเนาบัตรประชาชนของตัวเองและคนที่จะให้เขาได้รับมรดก
  2. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นๆ เช่น สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหุ้น เป็นต้น
  3. คอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์
  4. พยาน 2 คน (ที่ไม่ได้อะไรในพินัยกรรม)
  5. ปากกา (สีน้ำเงิน)

เมื่อเตรียมสิ่งของทั้งหมดแล้วก็เริ่มกันเลยครับ

พิมพ์พินัยกรรม : ให้ระบุ “วัน เดือน ปี” ที่เขียนอย่างชัดเจนและบรรยายว่าตนเองเป็นใคร มีทรัพย์สินอะไรบ้างและจะยกอะไรให้ใคร

ปริ้นและลงชื่อ : จากนั้นให้ทำการปริ้นออกมาและลงชื่อด้วยความตั้งใจพร้อมทั้งให้พยานอีก 2 คนลงชื่อไว้ด้วย

พินัยกรรมต้องมีพยานที่ไม่มีส่วนในมรดกลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ไม่อย่างนั้นจะเป็นโมฆะบังคับใช้ทางกฎหมายไม่ได้นะครับ

เก็บไว้ให้ดี : สุดท้ายให้เก็บพินัยกรรมไว้อย่าให้หายครับ เพียงเท่านี้เราก็มีพินัยกรรมที่สมบูรณ์แล้ว

พินัยกรรม กับ อายุ

อายุเท่าไหร่ถึงจะเริ่มทำพินัยกรรมได้และอายุเท่าไหร่ที่หมดสิทธิทำพินัยกรรม?

ตามกฎหมายอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ ก็สามารถทำพินัยกรรมตามกฎหมายได้แล้ว ซึ่งกฎหมายนี้ก็สอดคล้องกับสถานะปัจจุบัน ที่น้องๆสามารถหาเงินและมีทรัพย์สินได้ตั้งแต่อายุยังไม่เยอะ นอกจากนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกวันการที่ให้น้องมีพินัยกรรมไว้แต่เนิ่นๆย่อมดีกว่า

บุพการีบางคนก็ไม่ได้เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ถ้าจะให้ได้มรดกจากบุตรหลานก็ดูจะยังไงๆอยู่ ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้อายุครบ 15 ปี ซึ่งก็ถือว่ามีสติครบถ้วนได้เริ่มทำพินัยกรรมก็สมเหตุสมผลแล้ว

กฎหมายไม่มีเพดานอายุที่ให้ทำพินัยกรรม

หมายความว่าอายุมากขนาดไหนก็สามารถทำพินัยกรรมได้ ขอแค่สติยังไม่เลอะเลือนก็พอแล้ว

แบบฟอร์มพินัยกรรม

ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นเล็กน้อยเกี่ยวกับเอกสารที่อย่างน้อยต้องมีในการทำพินัยกรรมและขั้นตอนแล้ว วันนี้ผมจะระบุสิ่งที่ “จำเป็นต้องมี” ในพินัยกรรมตามกฎหมายให้ครับ

  1. วัน เดือน ปี
  2. รายละเอียดคนทำพินัยกรรม (ลอกบัตรประชาชนมา)
  3. สถานที่ทำพินัยกรรม เช่น บ้านเลขที่….
  4. รายการทรัพย์สิน ว่ามีอะไรบ้าง
  5. รายละเอียดการให้ ว่าทรัพย์สินชิ้นไหนยกให้ใคร
  6. ผู้จัดการมรดก ระบุด้วยว่าจะให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก
  7. ลงชื่อ พร้อมกับพยานอีก 2 คน

นอกจากนี้ผมอยากเพิ่มเติมอีกหนึ่งอย่างที่กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่เป็นสิ่งที่ยืนยันตัวตนและมีความคลาสสิคสุดๆ คือ…

คำสั่งเสียสุดท้าย ที่เราอยากจะบอกกับลูก หลาน ญาติ ของเราครับ

เวลาผมเปิดพินัยกรรมและอ่านส่วนสุดท้ายนี้ให้กับทายาทฟัง จะมีคำซึ้งๆ คำด่าทอ คำอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมถึงแบ่งแบบนี้ให้ลูกหลานได้เข้าใจเจตนา ซึ่งช่วยให้มีความเข้าใจผู้ตายมากขึ้น และทำให้ลูกหลานสามัคคีกันด้วยครับ 

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทุกท่านนะครับ ท่านสามารถทำพินัยกรรมได้ด้วยตัวเองตามรายละเอียดข้างต้นได้เลย แต่ถ้าไม่มั่นใจสามารถติดต่อเพื่อให้ทางเราจัดทำพินัยกรรมหรือตรวจทานพินัยกรรมของท่านได้ครับผม

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น