คดีแพ่ง โทษร้ายแรงไหม อายุความกี่ปี

บริการฟ้องร้องคดีแพ่ง สู้คดีแพ่ง

คดีแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายเท่านั้น ไม่มีโทษติดคุก

คดีแพ่งคืออะไร ร้ายแรงไหม?

คดีแพ่ง คือ คดีความที่ว่ากันด้วยเรื่องส่วนตัว ไม่มีโทษทางอาญา รัฐไม่ได้เข้ามาเป็นผู้เสียหายในคดีด้วย เป็นเรื่องของคู่กรณีโดยแท้

ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียกเงิน เรียกค่าเสียหาย บังคับตามสัญญา บังคับให้ทำอะไรบางอย่าง

ความรุนแรงของคดีแพ่ง แม้จะไม่มีโทษจำคุกแต่ถ้าประมาทก็จะทำให้แพ้คดี ทรัพย์สินที่หามาได้ก็ถูกยึดไปหมด ในความรู้สึกคนทั่วไป จะคดีแบบไหนก็ไม่อยากมีทั้งนั้น

แต่ในความเป็นจริงเราเลือกไม่ได้ครับ ยิ่งถ้าถูกฟ้องมายิ่งเลือกไม่ได้เลย ทำได้แต่ต่อสู้คดีไปเท่านั้น

โทษของคดีแพ่ง

คดีแพ่งไม่มีโทษติดคุกติดตารางเหมือนคดีอาญา ไม่ต้องกลัวประหารชีวิต

ปลายทางของคดีแพ่ง คือ การชดใช้ค่าเสียหาย ถูกยึดทรัพย์ ตัดเงินเดือน หรือ ถูกบังคับให้ทำอะไรบางอย่าง เช่น ย้ายออกจากที่ดิน ย้ายออกจากบ้าน เปิดให้คนอื่นใช้ทางในที่ดิน เป็นต้น

กรณีที่เราดื้อไม่ยอมทำตามที่ คำพิพากษาของคดีแพ่ง นั้นบอกไว้ ศาลอาจสั่งขังเราจนกว่าเราจะยอมทำก็ได้

คดีแพ่งมีอายุความกี่ปี

อายุความ คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เราใช้สิทธิทางศาล เพื่อดำเนินคดีหรือเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณี ซึ่งถ้าเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว กฎหมายมองว่าเราได้ให้อภัยเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว จะนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีกันอีกไม่ได้ มีหลายคนที่แพ้คดีแบบงงๆ เพราะขาดอายุความมาแล้ว

คดีแพ่ง นั้นกฎหมายกำหนดเป็นกรอบไว้กว้างๆ ว่ามี อายุความ 10 ปี เว้นแต่กฎหมายจะระบุเฉพาะเรื่องไว้ว่า เรื่องแบบนี้อายุความเท่าไหร่ ความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่คือ มีเวลาตั้ง 10 ปี ที่จะฟ้องคดีจึงไม่รีบร้อนกัน เป็นความคิดที่ผิด และทำให้เราเสียสิทธิอย่างน่าเสียดาย

ตัวอย่างคดีแพ่ง ที่มีกรอบอายุความน้อยกว่า 10 ปี เช่น

อุบัติเหตุเป็นคดีละเมิด อายุความ 1 ปี

บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต อายุความ 2 ปี

เช็คเด้ง อายุความ 1 ปี (อาญา 90 วันนะครับ)

สัญญาเช่าซื้อ อายุความ 2 ปี

เป็นต้น

ขนาดนักฎหมาย ทนายความ อัยการ หรือผู้พิพากษาเอง ยังจำกันได้ไม่ทุกเรื่องเลยครับว่าเรื่องไหนอายุความเท่าไหร่ เวลาทำงานกันก็ต้องมาทบทวน ตรวจสอบก่อนเสมอ

ดังนั้นแล้วถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาโดยเฉพาะคดีแพ่งที่มีอายุความหลากหลาย ให้รีบปรึกษาทนายแชมป์ เพื่อที่จะทราบสถานะทางกฎหมายและจะได้รู้ว่าคดีของเราขาดอายุความไปแล้วหรือยัง

คดีแพ่งไม่มีเงินจ่าย

เราไม่มีเงินจ่ายจะเกิดอะไรขึ้น คดีแพ่งเป็นคดีที่เราจะไม่ติดคุก ไม่ถูกประหารชีวิต ต่อให้เราแพ้คดีเป็นหนี้ร้อยสองร้อยล้านก็ตาม

ในส่วนของคดีแพ่งโทษหรือสภาพบังคับจะเป็นการ บังคับคดีครับ

โดยจะมีการ สืบทรัพย์สินของเรา แล้วยึดหรืออาอยัดทรัพย์สินของเราไปขายทอดตลาด

ได้เงินมาแล้วเขาก็จะเอาไปให้เจ้าหนี้ ถ้าโชคดีเหลือเงิน เขาก็จะคืนเงินส่วนที่เหลือมาให้เราครับ

เรามาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายๆ กัน

คุณพอล แพ้คดี คุณเก่ง 2,000,000 บาท คุณพอลตกงานไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินจ่ายในคดีแพ่ง มีแค่บ้านหนึ่งหลังราคาประมาณ 3,500,000 บาท

คุณเก่งให้ทนายความยึดบ้านหลังนี้เพื่อมาชำระหนี้ เจ้าหน้าที่ก็เอาบ้านหลังนี้ขายทอดตลาด

วันหนึ่งมาคนมาซื้อในราคา 2,900,000 บาท เจ้าหน้าที่ก็ได้กันเงินจำนวน 2,000,000 บาทนี้ให้กับคุณเก่ง

และเหลือเงิน 900,000 บาท เจ้าหน้าที่ก็คืนให้กับคุณพอลไปนั่นเอง

เห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับ

ดังนั้นถ้าไม่ยอมจ่ายเงินในคดีแพ่ง ระวังจะถูกยึดบ้าน ยึดรถ ยึดเงินในบัญชีไปหมดนะครับผม

คดีแพ่งยึดทรัพย์คู่สมรสได้ไหม

หลายคนกังวล เวลาที่คู่สมรสเราเกเรไปก่อเรื่องอะไรไว้แล้วเป็นหนี้มากมาย

ในคดีแพ่งแบบนี้เจ้าหนี้จะมายึดทรัพย์คู่สมรสอย่างเราได้มากน้อยเพียงไหนกัน

บอกก่อนเลยครับว่า ไม่ได้แน่นอน เพราะกฎหมายมองว่า หนี้ใครหนี้มัน

ไม่ใช่แค่คู่สมรสนะครับหนี้ของพ่อ หนี้ของแม่ก็ไม่ใช่หนี้ของลูกด้วยเช่นกัน แต่ถ้าก่อหนี้มาด้วยกันก็ต้องรับผิดชอบด้วยกันนะครับ

ต้องพิจารณาต่ออีกนึดก็คือ ทรัพย์ของคู่สมรส ที่เป็น “สินสมรส” จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกันก่อนและเจ้าหนี้ในคดีแพ่งสามารถยึดส่วน “ครึ่งนึง” ที่เป็นหนี้ของคู่สมรสได้ครับ

มาดูตัวอย่างกันนะครับ

นายกวิน และ นางเบล เป็นคู่สมรสกัน ระหว่างอยู่กินกันได้ซื้อบ้าน 1 หลังเป็นชื่อของนางเบล

วันหนึ่งนายกวิน ประสบอุบัติเหตุขับรถไปชนรถของ นายที เสียหาย 1 ล้านบาท

นายทีฟ้องคดีแพ่งและชนะคดีแล้ว นายทีเห็นว่านายกวินมีบ้านที่เป็นสินสมรสกับนางเบลอยู่ เลยทำเรื่องยึดออกมาขายใช้หนี้ได้ครับ

แม้ว่าบ้านจะเป็นชื่อของนางเบลก็ตาม เพราะว่าเป็นสินสมรส นายกวินก็เลยมีทรัพย์สินอยู่ครึ่งนึงในบ้านนั่นเอง

นางเบลเลยซวยไม่มีบ้านอยู่ แต่ไม่ว่าขายบ้านได้เท่าไหร่ นางเบลก็ได้เงินครึ่งหนึ่งไปซื้อบ้านหลังใหม่แทน

คดีแพ่งยอมความได้ไหม

สิ่งที่ทำให้คดีแพ่งมีความแตกต่างจากคดีอาญาอีกอย่าง คือการยอมความกัน

คดีแพ่ง มีที่มาจากเรื่องส่วนตัวเป็นความผิดความเสียหายที่ราชการหรือรัฐ ไม่เดือดร้อนไปด้วย กฎหมายจึงมองว่าเป็นเรื่องระหว่างคู่กรณีเท่านั้น

ดังนั้นการที่จะยอมความกัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่หน่วยงานราชการจะเข้าไปห้าม ในกฎหมายของเรา คดีแพ่งนั้นศาลเปิดโอกาสให้คู่กรณีทำการยอมความกันได้ตลอดเวลา

แม้ว่าจะมีคำพิพากษาไปแล้วก็ตาม เช่น การทำข้อตกลงในชั้นบังคับคดี เป็นต้น

ซึ่งแตกต่างกับคดีอาญาที่ต่อให้คู่กรณีตกลงเรื่องค่าเสียหายและเงื่อนไขอื่นๆ ได้แล้ว แต่ถ้าศาลต้องการดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ผู้เสียหายก็ทำอะไรไม่ได้

เพราะคดีอาญากฎหมายมองว่าเป็นเรื่องของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวนั่นเอง

การยอมความในคดีแพ่ง เรียกว่า สัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะทำภายใต้คดีความและมีผู้พิพากษา ให้คำพิพากษาบังคับตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่กรณีและจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย

ตัวอย่างเช่น

คุณเอ ฟ้องให้คุณบี ให้คืนเงินกู้ยืม 1,000,000 บาท ระหว่างดำเนินคดี บีเสนอว่าจะใช้เงินก้อนให้ 700,000 บาท แล้วคดีสิ้นสุดกันไปเลย คุณเอตกลงเพราะเกรงว่าไปบังคับคดีแล้วจะนาน และลำบากกว่าจะได้เงิน

ทั้งสองฝ่ายเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง

คดีนี้จึงตัดสินเป็นคำพิพากษาว่า ให้บีจ่ายเงินเอ 700,000 บาท โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาขึ้นศาลต่อสู้คดีกันเป็นปีๆ ไม่ต้องเอาเอกสารสัญญาเงินกู้มาพิสูจน์กันที่ศาลก็ได้

ยอมความ คดีแพ่ง

ตัวอย่างคดีแพ่ง

ถ้าเรากำลังเจอกับปัญหาเปล่านี้ คุณกำลังต้องการทนายว่าความคดีแพ่ง

  • ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายเงินกู้ที่ยืมไป
  • คนเช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่าบ้าน
  • ผู้ให้เช่าไม่ยอมคืนเงินมัดจำการเช่า
  • ต้องการยกเลิกสัญญาซื้อขายคอนโด
  • กู้ซื้อบ้านไม่ผ่านต้องการเงินคืน
  • ซื้อสินค้าจ่ายเงินมาแล้วได้ของมาไม่ถูกต้อง
  • ต้องการทางเดินออกถนนสาธารณะ
  • บังคับจำนอง
  • ยกเลิกการขายฝาก
  • หย่าแบ่งสินสมรส
  • บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล
  • ธนาคารฟ้องยึดบ้าน หรือยึดรถจากสัญญาเช่าซื้อ
  • สินค้าชำรุดบกพร่องต้องการเงินคืน
  • ผิดสัญญา
  • ขอให้คู่กรณีเลิกกระทำการบางอย่าง,
  • ขับไล่
  • เรียกร้องค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆ เป็นต้น

เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นคดีแพ่งทั้งนั้น ทีมทนายความของเรามีความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีแพ่ง พร้อมช่วยเหลือคุณในทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเรียกร้องค่าเสียหายหรือต่อสู้คดีที่ถูกฟ้องมา ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาทางกฎหมายได้ทันที

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

15 thoughts on “คดีแพ่ง โทษร้ายแรงไหม อายุความกี่ปี

  1. คนเดินดิน says:

    ขอสบอถามทนายค่ะ กรณีที่กู้ยืมเงินจากธนาคารแล้วไม่ได้จ่ายเพราะไม่ได้ทำงาน แล้วส่งหมายมาอีกทีจะยืดทรัพย์ เพราะมีชื่อห้อยท้ายในโฉนดของแม่ แบบนี้เขาจะยืดป่าวค่ะ และสามารถไกล่เกลี่ยได้ป่าวค่ะ

  2. ไมค์ says:

    โดนบริษัทประกันภัยรถยนต์ฟ้องคดีแพ่งผิดสัญญา รถยนต์เป็นชื่อคนอื่นแต่เราขับไปชนเกิดอุบัติเหตุ เมาแล้วขับ แต่ไม่มีเงินที่สามารถชำระให้กับบริษัทประกันได้ ทางประกันได้จ่ายเงินก่อนให้คู่กรณีไปเกือบ6แสนบาท งานไม่ได้ทำ แต่มีสินทรัพย์ที่เป็นชื่อตัวเองอยู่ คือรถยนต์เก่า กับมอไซต์เก่า โทษไนักสุดคืออะไรครับ

  3. ณัฐณิชา ศักดิ์ภิรมย์ says:

    โดนคดีเพ่ง เป็น pc ขายเสื้อผ้า ทำการคืนสินค้า แต่ไม่มีสินค้าแต่บริษัทไม่ได้รับสินค้าตามที่ทำเอกสารคืน เลยโดนฟ้องไห้ชดไช้ค่าสินค้า คดีนี้ถ้าเราไม่ไปตามนัดศาล เราจะโดนศาลสั่งกักขังได้หรือไม่ค๊ะ แล้วเราต้องทำยังงัย

  4. สุดารัตน์ says:

    แล้วสามารถเปลี่ยนจากคดีแพ่งเป็นอาญาได้มั้ย ซึ่งถ้าหากประนีประนอมแล้วแต่ไม่มีเงินจ่ายรึรถคืน

  5. หนู says:

    พอดีญาติใช้ชื่อเราซื้อมอไซต แล้วยังผ่อนไม่หมดแล้วรถหาย เราได้ไปแจ้งความรถหายไปกับไฟแนน แล้วผ่านมาหลายปีรอไฟแนนติดต่อมาว่าจะเอายังไงผ่านมาหลายปีไม่มีใครติดต่อมาเลย จนวันนึง แก่โอนสิทธิ์ให้บริษัทนึงดูแลหนี้แทน เค้าโทรมาทวงเงินให้โปะแต่เราไม่มีเงิน และเราก็ไม่ได้ใช้รถเอง อธิบายไปว่ารถหายไปแจ้งความแต่ทางบริษัทไม่ติดมาเลย แล้วมีบริษัทนี้โทรมาทวงเงินถ้าไม่จ่ายจะฟ้อง เราต้องทำไงคะ

  6. สมฤทัย บุญสม says:

    สอบถามคะ เป็นหนี้บัตรกดเงินสด อีออน ยอด40000กว่าบาท ขาดส่ง มีหมายศาลนัดมาที่บ้าน ถ้าไม่ไปตามนัด หรือเพิกเฉยจะเกิดอะไรขึ้นมั้ย? แล้วถ้าอยู่ต่างประเทศ ยังเดินทางเข้าออกได้ปรกติมั้ย? แล้วจะโดนจับมั้ยค่ะ

  7. สมฤทัย บุญสม says:

    สอบถามคะ เป็นหนี้บัตรกดเงินสด อีออน ยอด40000กว่าบาท ขาดส่ง มีหมายศาลนัดมาที่บ้าน ถ้าไม่ไปตามนัด หรือเพิกเฉยจะเกิดอะไรขึ้นมั้ย? แล้วถ้าอยู่ต่างประเทศ ยังเดินทางเข้าออกได้ปรกติมั้ย? แล้วจะโดนจับมั้ยค่ะ

  8. ต้องตา says:

    สอบถามค่ะ ถ้าเป็นกรณีที่ถูกยึดบ้านเรื่องไม่จ่ายเงินกู้บัตรเครดิตของธนาคารแห่งหรึ่ง แต่ทางเจ้าตัวไม่ได้เป็นคนกู้ มารุ้ตัวอีกทีมีหมายมาที่บ้านแล้วล่ะค่ะแบบนี้จะทำยังไงได้บ้างค่ะ

  9. กานต์ says:

    ขอสอบถามค่ะ ติดหนี้บัตร FC โดนฟ้องแต่ไม่ได้ไปศาล ตอนนี้มีศาลพิพากษาให้จ่ายตามยอดแล้ว แต่ไม่มีเงินจะจ่ายเลยค่ะ แบบนี้ต้องทำยังไงคะ จะโดนจับ ติดคุกไหม

  10. Champ lawyer says:

    คดีแบบนี้เข้าออกประเทศได้ ไม่ติดคุกครับ แต่แนะนำลองดูให้ดีๆว่าถูกฟ้องล้มละลายด้วยหรือเปล่า เพราะถ้าล้มละลาย เข้าประเทศมาแล้วจะเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้และเผลอๆจะมีหมายจับด้วยครับผม

  11. กุลรัชดา โฮมชัย says:

    เป็นหนี้ สินเชื่อ บัตรเครดิต OD ของกสิกรไทย มีหมายศาลบังคับคดี เจ้าตัวอยูต่างประเทศไม่ทราบว่ายังเดินทางเข้าออกนอกประเทศได้ไหมคะและจะติดคุกหรือเปล่า
    ขอบคุณค่ะ

  12. Champ lawyer says:

    ไม่สามารถฟ้องส่วนตัวได้ครับ เพราะเราทำหน้าที่ให้กับบริษัท ถ้าฟ้องมาสุดท้ายศาลจะไม่ลงโทษอะไรเราครับ กรณีที่พนักงานหรือผู้จัดการจะต้องรับผิดพร้อมกับบริษัทต้องเป็นกรณีที่เราจงใจทำให้คู่กรณ๊เสียหายทั้งๆที่รู้อยู่แล้วครับ ถ้าเป็นความผิดพลาดจากการทำธุรกิจปกติไม่โดนร่วมไปด้วยครับผม

  13. ิboy says:

    สอบถามทนายครับ ผมทำงานเป็นผู้จัดการโครงการก่อสร้าง แล้วทำการเช่าเครื่องจักรมาทำงานในโครงการ เเต่ทางบริษัทไม่ชำระค่าเช่า ทางเครื่องจักรสามารถฟ้องร้องกับตัวผมได้ไหมครับ

  14. Champ lawyer says:

    เรื่องรถปกติจะเป็นทางแพ่ง ประนีประนอมได้แน่นอนครับ
    แนะนำให้ติดต่อทนายที่ทำคดีนี้ หาเบอร์ทนายในหมายศาลได้เลย แล้วต่อรองรายละเอียดการผ่อนก่อนไปศาล จะได้ไม่กดดันเหมือนถูกมัดมือชกครับผม

  15. ศิรินภา สมรูป says:

    สอบถามทนายคะ….ในกรณีเรื่องรถ….ถ้ามีหมายศาลมาที่บ้านเรื่องรถขาดส่งงวด…และไม่มีรถคืนให้ทางร้าน….อันดับแรกควรทำอันไหนก่อนดีคะ…คดีความนี้เราสามารถประนีประนอมยอมความได้มั้ยคะ

ใส่ความเห็น