สารบัญ
- ผู้เยาว์คืออะไร หมายถึงอะไร
- ผู้เยาว์ อายุ เท่าไร
- บรรลุนิติภาวะ คืออะไร อายุเท่าไหร่
- กฎหมายผู้เยาว์
- นิติกรรมในข้อใด ที่ผู้เยาว์สามารถกระทำได้ด้วยตนเอง
- ผู้ใช้อํานาจปกครองผู้เยาว์ตามกฎหมาย คือ
ผู้เยาว์คืออะไร หมายถึงอะไร
ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะการบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์หากจะทำนิติกรรมใดๆจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเสียก่อน
ผู้เยาว์ อายุ เท่าไร
ผู้เยาว์จะเป็นบุคคลที่มีอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
บรรลุนิติภาวะ คืออะไร อายุเท่าไหร่
คือ ภาวะที่บุคคลเป็นผู้มีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง การบรรลุนิติภาวะย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแต่กรณี
(1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
(2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์
กฎหมายผู้เยาว์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ไม่ได้นิยามคำว่าผู้เยาว์ไว้ อย่างไรก็ตาม
มาตรา 19 และ 20 ได้กำหนดเหตุ พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ ไว้ดังนี้
- “มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
- “มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘”
“กฎหมายเยาวชน” ที่จะมีลักษณะคล้ายกับกฎหมายทั่วไปแต่โทษที่ผู้เยาว์จะได้รับนั้นจะมีสถานที่เบากว่าหรืออาจไม่ได้รับโทษหรือในบางกรณีที่ผู้ปกครองจะต้องรับผิดแทน
นิติกรรมในข้อใด ที่ผู้เยาว์สามารถกระทำได้ด้วยตนเอง
- นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือนิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หา
- กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว
- ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
- ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมโดยมีอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ
ผู้ใช้อํานาจปกครองผู้เยาว์ตามกฎหมาย คือ
ผู้ปกครองคือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลผู้เยาว์ เช่น บิดา-มารดา หรือบุคคลที่รับเลี้ยงอุปการะผู้เยาว์อยู่
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.