เปิดเพลงในร้านอาหารยังไง ไม่ให้ผิดลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์เพลงร้านอาหาร

ต่อให้เจ้าของเพลงจะปล่อยเพลงในที่สาธารณะแต่เราก็จะเอาไปเปิดตามใจไม่ได้เพราะผิดลิขสิทธิ์

ไม่ใช่แค่ร้านอาหารที่เจอปัญหานี้คาเฟ่หรือร้านนั่งต่างๆก็ต้องการเปิดเพลงให้ลูกค้าฟังไม่งั้นเบื่อกันแย่เลยปัญหาของเรื่องนี้คือเจ้าของร้านหรือคนเปิดเพลงไม่รู้ว่าเพลงไหนเปิดได้เพลงไหนเปิดไม่ได้เพราะเพลงสมัยนี้เปิดง่ายผ่านอินเตอร์เน็ทหรือแอฟต่างๆก็เข้าใจว่าสามารถเปิดได้อยู่แล้วเพราะเจ้าของเพลงเอามาปล่อยเป็นสาธารณะแล้วความจริงเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมาก

สารบัญเนื้อหา

ลิขสิทธิ์คือ อะไร

ลิขสิทธิ์คุ้มครองเมื่อไหร่

ทำอย่างไรไม่ให้ผิดลิขสิทธิ์

ความผิดเรื่องลิขสิทธิ์

การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คือ

ลิขสิทธิ์ คือ สิ่งที่กฎหมายออกแบบมาคุ้มครอง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าและราคา เช่น ดนตรี งานเขียน ศิลปะหลาย ๆ แขนง การออกแบบ และอื่นๆ

นอกจากนี้ “เพลงก็เป็นอีกงานหนึ่งที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองเช่นเดียวกัน” ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องทางการค้าที่มีการยอมรับระหว่างประเทศเพื่อให้มีค่าและความสำคัญกับผู้สร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถยื่นคำร้องขอเรียกค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายของลิขสิทธิ์ที่ถูกละเมิดได้ ดังนั้นการใช้งานผลงานของผู้อื่นต้องให้ความสำคัญในการระมัดระวังให้ดี

ลิขสิทธิคุ้มครองเมื่อไหร่

ปกติแล้วลิขสิทธิจะเริ่มคุ้มครองทันทีที่เราสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้น “ทันที” และจะยังคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีหลังจากเราตายด้วย ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานราชการเราก็มีการคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์ได้เหมือนกัน เช่น อยู่บ้านแต่งเพลงอัดเสียงไว้แล้ว ทันทีที่เราทำเสร็จก็คุ้มครองทันที

แต่ถ้าเราทำเองแล้วเก็บไว้คนเดียว อาจเป็นการยากที่จะมีหลักฐานยืนยัน จึงแนะนำให้ upload หรือเก็บเป็น file ที่มีการระบุวันที่ผลิตไว้ให้ชัดเจน

ทำอย่างไรให้ไม่ผิดลิขสิทธิ์

ต้องบอกกันตรงๆ ก่อนครับว่า การเผยแพร่เพลงในโลกอินเตอร์เน็ทที่ให้ฟังกันฟรีๆ หรือแม้แต่เสียเงินก็ตาม เขาให้เราฟังเป็นการ “ส่วนตัว” เท่านั้น ไม่ได้อนุญาตให้เราเอาไปทำ “การค้า” เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเอาไปสนับสนุนหรือไปช่วยเหลือกิจการร้านอาหารของเราเราต้องขออนุญาตเขาก่อนหรือ ซื้อลิขสิทธิ์สำหรับการค้าก่อน

ในทีนี้เรามาพูดกรณีที่เราไม่ได้ซื้อลิขสิทธิ์กันนะครับว่า ทำอย่างไรถึงจะเลี่ยงเรื่องนี้ได้

1. ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง

  • ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา https://music.ipthailand.go.th/song
  • หากตรวจพบว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ก็สามารถเปิดใช้ได้ (เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์)
  • การตรวจสอบนี้สามารถตรวจไว้ว่าเพลงจากค่ายเพลงที่เราเปิดนั้นมีการเก็บลิขหรือไม่ เช็คได้ว่าค่ายนั้นมีการเก็บลิขสิทธิ์หรือไม่

2. เปิดเพลงของค่ายที่ไม่ได้มีการเก็บค่าลิขสิทธิ์

  • ทั้งนี้ต้องมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ว่าภายหลังที่การจดลิขสิทธิ์หรือไม่

3. ใช้เพลงสาธารณะ

  • เช่น เพลงคริสมาสต์ หรือแฟลชม็อป

4. ใช้เพลงที่ไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

      คือ เพลงที่ไม่มีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรใดๆ ที่รับรองสิทธิ์ในผลงานนั้น ตัวอย่างของเพลงที่ไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์:

  • เพลงที่ส่งผลให้สาธารณชนรู้จักและเป็นเพลงเก่า เช่น เพลงพื้นเมือง ขับร้องร่วมกันในงานสังสรรค์ หรือเพลงที่เป็นที่รู้จักทั่วไป
  • เพลงที่เขียนโดยเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วสิทธิบัตรหมดอายุแล้ว ซึ่งต้องเป็นเพลงที่นานมากจริงๆ เนื่องจากระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์ค่อนข้างนาน คือ ความคุ้มครองตั้งแต่มีการนำงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นออกโฆษณา จนกว่าผู้สร้างสรรค์จะถึงแก่ความตายหรือตลอดอายุของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต่อเนื่องไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย และหากเจ้าของลิขสิทธิ์มีผู้ขอลิขสิทธิ์ร่วมกันก็คุ้มครองอระยะเวลาไปถึงผู้ถือครองลิขสิทธิ์อีกคนหนึ่ง หรือในกรณีเป็นนิติบุคคล งานอันมีลิขสิทธิ์ที่นิติบุคคลนั้นทำขึ้น ก็จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่วันที่นำงานดังกล่าวออกโฆษณา
  • เพลงที่เป็นสาธารณะและใช้กันอย่างแพร่หลายในท้องถิ่นหรือประเทศอื่นๆ เช่น เพลงดนตรีท้องถิ่นหรือเพลงที่เผยแพร่ในสื่อสาธารณะโดยไม่มีข้อจำกัด

5.     ทำเพลงเอง = จบเลยไม่มีปัญหาครับ ^^ 

ความผิดเรื่องลิขสิทธิ์

การเปิดเพลงตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์” ไม่ว่าจากสื่อใด ๆ เช่น  Youtube CD หรือ DVD หรือแม้กระทั่งจากแผ่นเสียงไวนิล

• มีความผิด “ตามมาตรา 31” ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน เพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นทำการละเมิดลิขสิทธิ์

ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้าจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์เราสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.      ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อนดำเนินคดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่มีอำนาจในการจับกุมดำเนินคดี (เนื่องจากเป็นคดีความผิดส่วนตัว)

2.      ตรวจสอบหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น หลักฐานการเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้รับโอนสิทธิ์ หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยวิธีอื่น

3.      ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ให้ตัวแทนมาดำเนินคดี เช่น หนังสือมอบอำนาจหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจนั้นสามารถมอบอำนาจช่วงได้หรือไม่ การมอบอำนาจช่วงต้องกระทำโดยไม่ขาดสายถึงผู้มอบอำนาจคนแรก และมีอำนาจในการร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความหรือไม่เป็นต้น

4.      การดำเนินคดี จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย และผู้ประกอบการอาจขอดูบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าจับกุม

5.      การตรวจค้นในที่รโหฐาน (หรือพื้นที่ส่วนตัวของเรา) เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายศาลมาแสดง ก่อนที่จะทำการตรวจค้น

6.      คดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง สามารถยอมความ (ตกลงค่าเสียหาย) เพื่อยุติคดีด้วยการถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้อง หากต้องการยอมความ ควรทำต่อหน้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น และลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ายอมความในลิขสิทธิ์เพลงอะไร จำนวนเงินเท่าใด

    ทั้งนี้หากเราไม่ต้องการให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องดำเนินคดีหรือเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เราควรตรวจเช็คกับทางเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือสามารถติดต่อทางค่ายเพลงเพื่อตรวจสอบได้เลย

การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์

หากเพลงนั้นมีการเสียลิขสิทธิ์ต้องดำเนินการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ หรือติดต่อทางค่ายเพลงโดยตรงเพื่อทำสัญญาอนุญาติการใช้ลิขสิทธิ์ ไม่สามารถดำเนินการขอลิขสิทธิ์จากเจ้าของลิขสิทธิ์ผ่านเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สิน เนื่องจากทางกรมเป็นเพียงตัวแทนให้บุคคลสองฝ่าย

สามารถติดต่อ หรือเช็ค หรือเปิดให้ขอลิขสิทธิ์สำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ซึ่งการติดต่อกับทางเจ้าของเพลง หรือทางค่ายเพลงสามารถตกลงราคาและระยะเวลาการขอลิขสิทธิ์ได้เลย

สรุป

การเปิดเพลงในที่สาธารณะหรือในร้านอาหาร แม้คนเข้าร้านไม่เยอะ เจ้าของร้านก็ควรขออนุญาต ควรปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ถ้าใครอยากศึกษาเพิ่มเติมแนะนำ ลิงค์นี้เลยครับ >>> คลิ๊ก!! (จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา)

เนื้อหา  จัสมิน

เรียบเรียง ทนายแชมป์

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย

ใส่ความเห็น