การขอประกันตัว คือ การขออนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาลตามระยะเวลาที่กําหนด
เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าความจําเป็น ในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาคดี เพราะหากไม่มีความจําเป็นต้องควบคุม ก็ควรที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวไป อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจําเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุด
การขอประกันตัวในชั้นศาลมี 3 ช่วง
ช่วงที่หนึ่ง คือ ประกันตัวก่อนถึงศาล จะเป็นการประกันตัวที่โรงพักและไปต่อที่สำนักงานอัยการ
ช่วงที่สอง คือ ประกันตัวต่อศาลแต่ยังไม่มีการฟ้องคดี เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้มีการฟ้องคดีจริงๆ เรื่องก็ยังไม่ถึงศาล
ช่วงที่สาม คือ ช่วงที่ศาลรับฟ้องแล้ว ไม่ว่าจะฟ้องโดยอัยการ หรือประชาชนฟ้องเอง ถ้าศาลประทับรับฟ้องแล้วเราต้องไปประกันตัวที่ศาล
ถ้าไม่ประกันตัว เราต้องอยู่คุกจนกว่าคดีจะเสร็จ
ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอประกันตัว
- ผู้ต้องหาหรือจำเลย
- ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา
การขอประกันตัวต่อศาล
1. การขอประกันตัวระหว่างชั้นฝากขัง (ขณะเป็นผู้ต้องหายังไม่ได้ถูกสั่งฟ้องคดี)
ทําได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือพนักงานอัยการนําตัวมาขออนุญาตศาลฝากขัง ระหว่างที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นขอประกันตัวต่อศาล
2. การขอประกันตัวชั้นพิจารณาคดี
ทําได้เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาล และเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจําเลย จําเลยมีสิทธิขอประกันตัวต่อศาลได้
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ (ผู้เสียหายฟ้องเอง) เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว จําเลยจะยื่นขอประกันตัวก่อนวันนัดหรือในวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้
3. การขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
เมื่อมีกรณีที่จําเลยถูกขังหรือจําคุกโดยผลของคําพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จําเลยอาจยื่นขอประกันตัวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกา หรือจะยื่นขอประกันตัวพร้อมกันหรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาก็ได้
การขอประกันตัวดังกล่าว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี หรืออาจยื่นต่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ การประกันตัวในชั้นใดก็จะใช้ได้ในชั้นนั้น เมื่อชั้นของการของประกันตัวเปลี่ยนไปก็ต้องยื่นขอประกันตัวใหม
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอประกันตัว
- บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกันพร้อมสำเนา
- หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) เงินสด บัญชีเงินฝาก
- หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)
- หนังสือรับรองราคาประเมิน (กรณีใช้โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นระกัน)
- หนังสือรับรองจากธนาคาร (กรณีใช้สมุดเงินฝากเป็นประกัน)
- หลักฐานการยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ประกันมีคู่สมรส)
วงเงินประกันตัวมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ จำนวนโทษจำคุก ตามความผิดอาญาและข้อหา
การกำหนดจำนวนเงินประกันตัว
การกำหนดจำนวนเงินประกันตัวในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาลำดับที่ ข้อหา หรือ ฐานความผิด เงินสด (ขั้นต่ำ) ราคาประเมินหลักทรัพย์ (ขั้นต่ำ) ประมวลกฎหมายอาญา
- ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 60,000 – 130,000
- แจ้งความเท็จ 40,000 – 70,000
- ฟ้องเท็จ 60,000 – 80,000
- เบิกความเท็จ 40,000 – 70,000
- หมิ่นประมาท 30,000 – 60,000
- เพลิงไหม้ 170,000 – 250,000
- ทำลายเอกสาร 30,000 – 60,000
- ปลอมเอกสารธรรมดาหรือเอกสารสิทธิ 70,000 – 150,000
- ปลอมเอกสารราชการ 80,000 – 150,000
- ปลอมเอกสารสิทธิซึ่งเป็นเอกสารราชการ 90,000 – 180,000
- โทรมหญิง 200,000 – 400,000
- อนาจาร 50,000 – 120,000
- ธุระจัดหาหญิง 200,000 – 400,000
- พรากผู้เยาว์ 80,000 – 160,000
- พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร 100,000 – 200,000
- ฆ่าผู้อื่น 200,000 – 400,000
- ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา 100,000 – 200,000
- พยายามฆ่าผู้อื่น 80,000 – 150,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ขับรถส่วนบุคคล) 80,000 – 150,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ขับรถบรรทุก , รับจ้าง) 120,000 – 200,000
- ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ตายหมู่ ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป) 150,000 – 300,000
- ทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส 80,000 – 160,000
- ทำร้ายร่างกาย 10,000 – 50,000
- ลักทรัพย์ 50,000 – 100,000
- วิ่งราวทรัพย์ หรือลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป 80,000 – 160,000
- ลักทรัพย์เป็นแก๊งมิจฉาชีพ 100,000 – 200,000
- ชิงทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ชิงทรัพย์มีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะ 150,000 – 300,000
- ชิงทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์บาดเจ็บ 150,000 – 300,000
- ชิงทรัพย์ฆ่าเจ้าทรัพย์ 200,000 – 400,000
- ปล้นทรัพย์ 200,000 – 300,000
- ปล้นทรัพย์มีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะ 250,000 – 350,000
- ปล้นทรัพย์ทำร้ายเจ้าทรัพย์บาดเจ็บ 260,000 – 400,000
- ปล้นทรัพย์ฆ่าเจ้าทรัพย์ 300,000 – 500,000
- ฉ้อโกง 30,000 – 70,000
- ฉ้อโกงประชาชน 150,000 – 300,000
- ฉ้อโกงประชาชน หลอกลวงลักษณะจัดหางาน 180,000 – 400,000
- ฉ้อโกงมีพฤติการณ์เป็นแก๊งตกทอง แก๊งไพ่สามใบ 120,000 – 200,000
- โกงเจ้าหนี้ 40,000 – 80,000
- รีดเอาทรัพย์ 80,000 – 120,000
- กรรโชกทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ยักยอกทรัพย์ 30,000 – 60,000
- รับของโจร 50,000 – 100,000
- รับของโจรมีพฤติการณ์เป็นคนร้ายลักทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ 100,000 – 200,000
- ทำให้เสียทรัพย์ 30,000 – 70,000
- บุกรุก 30,000 – 70,000
- บุกรุกเพื่อทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ชีวิต ร่างกาย 100,000 – 200,000
- พยานขัดหมายศาล 50,000 – 100,000
- พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 1 ใน 3 ของจำนวนเงินตามเช็ค แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
การประกันตัวเป็นสิทธิที่เราจะขอได้ แต่ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดที่เราต้องได้แน่ๆ
หมายความว่าเราต้องทำให้ศาลเชื่อใจว่าเราควรได้รับการประกันตัว ซึ่งโดยปกติแล้วผู้พิพากษามีความตั้งใจให้เราประกันตัวระหว่างสู้คดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามีเหตุผลที่กฎหมายห้ามไว้ เราก็จะไม่ได้รับการประกันตัว
เช่น จะไปทำความผิดเดิมอีก, จะไปรบกวนพยานหรือเอกสารหลักฐาน หรือเป็นคดีร้ายแรงกลัวว่าจะหนีไป เป็นต้น
เนื้อหาโดย นาเดียร์
เรียบเรียงโดย #ทนายแชมป์ #champlawyer
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.