สารบัญ
-
ผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีพินัยกรรม
-
ผู้จัดการมรดก ตามพินัยกรรม
-
คนส่วนใหญ่ที่ถูกเลือกให้เป็นผู้จัดการมรดก
-
คุณสมบัติผู้จัดการมรดก
-
ข้อดีของการให้ทนายเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีพินัยกรรม
การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรม จะต้องเป็นคนที่กฎหมายกำหนดว่ามีส่วนได้เสีย หรือให้จำง่ายๆว่า มีสิทธิได้รับมรดกนั่นเอง
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการตั้งทายาทหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ซึ่งทายาทตามกฎหมายนั้นจะมีตามลำดับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 โดยแบ่งออกเป็น 6 ลำดับตามนี้:
- ผู้สืบสันดาน (ลูกหลาน)
- บิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
นอกจากนี้ยังมี “คู่สมรส” อีกคนที่สามารถขอเป็นผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
หากบุคคลในลำดับเหล่านี้ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ เช่น ไม่มีความสามารถหรือไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้ บุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิรับมรดกโดยตรง สามารถทำหน้าที่จัดการมรดกแทนได้
การตั้งผู้จัดการมรดกแบบนี้ ศาลจะขอดูความยินยอมขอทายาทคนอื่นที่ได้รับมรดกเหมือนกันด้วยว่ายินยอมพร้อมกันหรือไม่ แต่ไม่ได้แปลว่าถ้าไม่ยินยอมจะตั้งผู้จัดการมรดกไม่ได้นะครับ แต่อาจยุ่งยากกว่าเล็กน้อย
ผู้จัดการมรดก ตามพินัยกรรม
กรณีที่ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้แล้ว พินัยกรรมจะเป็นเอกสารที่แสดงถึงความประสงค์สุดท้ายของผู้ตาย ซึ่งไม่เพียงแต่ระบุการแบ่งสัดส่วนมรดกเท่านั้น แต่ยังสามารถระบุ ผู้จัดการมรดก ได้ด้วย
โดยในพินัยกรรมเจ้ามรดกสามารถกำหนดได้เลยว่าจะให้ใครทำหน้าที่จัดการมรดก และในบางกรณีทนายความ หรือคนนอกที่ไม่ได้รับมรดกเลย ก็สามารถได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
แต่ถ้าคนที่ผู้ตายเลือกให้เป็นผู้จัดการมรดกไม่ยอมมาเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีคุณสมบัติต้องห้ามแล้ว ก็กลับไปยึดตามกฎหมายโดยผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งใครก็ได้สามารถเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามข้างต้น
คนส่วนใหญ่ที่ถูกเลือกให้เป็นผู้จัดการมรดก
- คนรับมรดก ผู้ที่มักถูกเลือกให้เป็นผู้จัดการมรดกบ่อยที่สุดคือ ทายาท หรือ คนรับมรดก
ส่วนมากมักจะให้ญาติหรือลูกหลานที่ ได้รับมรดกสัดส่วนเยอะที่สุดหรือไว้ใจที่สุดเป็นคนได้รับตำแหน่งนี้ - ทนายความ ในหลายๆ กรณี ทนายความได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก เนื่องจากทนายความมีความรู้ความเชี่ยวชาญในกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมรดก การแต่งตั้งทนายให้เป็นผู้จัดการมรดกช่วยลดความยุ่งยากในกระบวนการจัดการมรดก และป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทายาทได้
- คนกลาง (คนนอก) ถึงจะพบน้อยที่สุดแต่ก็ยังพบอยู่เรื่อยๆ คือ การที่ผู้ทำพินัยกรรมเลือกให้คนกลาง ซึ่งอาจเป็นเพื่อนสนิทหรือญาติสนิท ที่ไม่ได้รับมรดกแต่ให้เป็นผู้จัดการมรดกให้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นกลางและเชื่อว่า บุคคลนี้จะเป็นที่เคารพยำเกรงของลูกหลาน ลดโอกาสการทะเลาะกันหลังจากตายไปแล้ว
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
นอกจากเป็นคนที่ถูกเลือกในพินัยกรรมหรือผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายแล้ว ต้องดูข้อห้ามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ได้กำหนดว่า ผู้ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก ได้แก่
- บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุยังไม่ครบ 20 ปี)
- บุคคลวิกลจริต หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
- บุคคลที่ศาลสั่งให้ล้มละลาย
ข้อดีของการให้ทนายเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อทนายความได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก จะมีข้อดีที่สำคัญหลายประการ ดังนี้:
- ได้รับคำปรึกษาที่ถูกต้อง ทนายความสามารถให้คำแนะนำทางกฎหมายที่ถูกต้องและชัดเจน ช่วยให้ทายาทเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง โดยไม่ต้องกังวลกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่ซับซ้อน ทั้งในเรื่องเอกสารหรือกระบวนการเบิกความในศาล
- กระบวนการรวดเร็วและชัดเจน ทนายความมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการทางกฎหมายและสามารถดำเนินการจัดการมรดกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการรอคอยที่อาจทำให้ทายาทเกิดความเครียดและความกังวล
- ดำเนินการตั้งผู้จัดการมรดกได้ถูกต้อง ทนายความจะช่วยให้การตั้งผู้จัดการมรดกเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การขัดแย้งหรือการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอถอนผู้จัดการมรดกออกจากตำแหน่งได้ หากการจัดการมรดกไม่ถูกต้องหรือขัดกับพินัยกรรม
- ประหยัดเวลาของทายาท การมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้จัดการมรดกช่วยประหยัดเวลาของทายาทในการดำเนินการทางกฎหมาย และลดภาระในการไปเบิกความที่ศาล ทนายความจะทำการเบิกความแทนทายาทและดำเนินการโอนทรัพย์สินให้กับทายาทตามกระบวนการที่ถูกต้อง
การให้ทนายความเป็นผู้จัดการมรดกไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว แต่ยังช่วยให้ทายาทสามารถหลีกเลี่ยงข้อพิพาทและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการมรดกด้วยตัวเองค่ะ
เนื้อหาโดย ทนายจัสมิน / เรียบเรียงโดย ทนายแชมป์
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.