สารบัญ
- เล่นแชร์ คืออะไร
- เล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม
- ท้าวแชร์โกงทำยังไง
- ขั้นตอนฟ้องท้าวแชร์
- คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา
เล่นแชร์ คืออะไร
เล่นแชร์ คือ กิจกรรมการออมเงินระหว่างกลุ่มคนที่รู้จักกัน โดยกลุ่มผู้เล่นแชร์จะตกลงกันในจำนวนเงินที่ต้องจ่ายและจำนวนงวดที่จะต้องจ่ายเงินเข้ากองกลาง
ซึ่งจะมีผู้รับเงิน (เรียกว่า “ท้าวแชร์”) ทำหน้าที่จัดการแชร์นี้ โดยจะทำการเรียกประชุมและกำหนดงวดจ่ายให้สมาชิกในกลุ่มผลัดกันรับเงินในแต่ละงวด
เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนสามารถเก็บเงินหรือใช้เงินในอนาคตได้
ตัวอย่างเช่น มีสมาชิก 10 คน ท้าวแชร์ 1 คน ในแต่ละงวดให้สมาชิกทุกคนส่งเงินให้ท้าวแชร์จำนวนที่เท่ากัน จากนั้นสมาชิกที่ต้องการใช้เงินกองกลางทั้งหมด
ให้กำหนดผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยว่าตนจะให้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ หากใครกำหนดได้สูงที่สุดท้าวแชร์จะเอาเงินกองกลางให้สมาชิกคนนั้นไป
สมาชิกที่ประมูลผลประโยชน์ได้ดีที่สุด เมื่อได้รับเงินก้อนไปก็จะเอาไปใช้ประโยชน์ก่อน (เหมือนยืมเงินกองกลางมาก่อน) และในงวดที่ต้องจ่ายเงินถัดไปนอกจากค่างวดปกติแล้วสมาชิกคนนั้นต้องเพิ่มเงินตามผลประโยชน์ที่ได้ประมูลไว้ด้วย เช่น ประมูล 10 บาท งวดต่อไปก็ต้องจ่าย ค่างวด+10 บาท จนกว่าจะครบจำนวนงวด
เล่นแชร์ ผิดกฎหมายไหม
การเล่นแชร์ปกติจะไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นเข้าข้อห้ามของกฎหมาย พระราชบัญญัติการเล่นแชร์
- หากดำเนินการกันในวงที่ไม่ใหญ่มาก (ไม่เกิน 30 คน) แ
- ห้ามทำเป็นบริษัท นิติบุคคลหรือองค์กร
- มีการจัดการที่ชัดเจน โปร่งใส
- ห้ามมีการโฆษณาหรือเชิญชวนให้คนมาลงทุนในลักษณะที่คล้ายกับแชร์ลูกโซ่
- เงินกองกลางต่องวดรวมกันต้องไม่เกิน 300,000 บาท
- ท้าวแชร์ห้ามกำหนดค่าแรง ค่าหัวคิว หรือผลประโยชน์อื่นๆ นอกจากเงินกองกลางเหมือนลูกวงแชร์เท่านั้น
ท้าวแชร์โกงทำยังไง
เมื่อท้าวแชร์ตั้งใจที่จะโกง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในรูปแบบต่อไปนี้:
- หนีหายพร้อมกับเงิน: ท้าวแชร์อาจรับเงินจากสมาชิกแล้วไม่ส่งเงินให้แก่ผู้ที่ควรจะได้รับในงวดนั้น ๆ และหนีหายไปพร้อมกับเงินทั้งหมด
- รับสมาชิกเพิ่มโดยไม่จ่ายจริง: อาจทำการรับสมาชิกเพิ่มเกินกว่าที่จะจ่ายไหว และไม่สามารถจ่ายคืนได้ หรือจ่ายคืนเพียงบางส่วน
- ปลอมแปลงข้อมูล: ท้าวแชร์อาจปลอมแปลงข้อมูลเพื่อให้สมาชิกเชื่อว่ามีการหมุนเงินในแชร์ แต่ความจริงไม่มีการจ่ายเงินจริง หรือไม่มีเงินในกองกลาง
ขั้นตอนฟ้องท้าวแชร์
หากท้าวแชร์มีพฤติกรรมโกงและไม่คืนเงินให้กับสมาชิก ผู้เสียหายสามารถดำเนินการฟ้องร้องได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้:
- เก็บหลักฐาน: รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเล่นแชร์ เช่น การโอนเงิน สัญญาการเล่นแชร์ บันทึกการสนทนากับท้าวแชร์
- แจ้งความ: ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องและดำเนินการสืบสวน
- ฟ้องร้องทางแพ่งหรืออาญา: กรณีที่ต้องการเรียกร้องเงินคืนและค่าเสียหาย สามารถฟ้องร้องในคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินคืน และหากมีพฤติกรรมหลอกลวง อาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงได้
- ติดต่อทนายความ: หากคดีมีความซับซ้อน ควรปรึกษาทนายความเพื่อดำเนินการในกระบวนการทางกฎหมายอย่างถูกต้อง
คดีแชร์เป็นคดีแพ่งหรืออาญา
เรื่องแชร์นั้นเป็นได้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ขึ้นอยู่กับว่าผิดเงื่อนไขตาม พระราชบัญญัติการเล่นแชร์หรือเปล่า ถ้าผิดก็มีโทษอาญาด้วยแต่ถ้าไม่ผิดเพียงแต่ไม่กติกาแชร์เท่านั้นก็เป็นเรื่องทางแพ่ง อย่างไรก็ดีถ้าเข้าค่ายการฉ้อโกงก็เป็นความผิดอาญาแน่นอนและอาจลามไปถึงฉ้อโกงประชาชนหรือแชร์ลูกโซ่ก็ได
- คดีแพ่ง: หากเป็นการเรียกร้องเงินคืนจากท้าวแชร์โดยที่ไม่มีเจตนาหลอกลวง อาจดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อให้คืนเงินที่ควรจะได้รับ
- คดีอาญา: หากท้าวแชร์มีพฤติกรรมฉ้อโกงหรือหลอกลวงประชาชน โดยเจตนาจะโกงเงินและหนีหาย คดีจะเข้าข่ายความผิดทางอาญาภายใต้ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและปรับ
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.