สารบัญ
- Notary คืออะไร และมีบทบาทอย่างไร
- ประเภทของ Notary และหน้าที่ของแต่ละประเภท
- ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้บริการ Notary
- ขั้นตอนการทำ Notary ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
- การเลือกใช้บริการ Notary อย่างไรให้เหมาะสม
- สรุป
Notary คืออะไร และมีบทบาทอย่างไร
ถามว่า Notary คืออะไร?
ขอตอบเลยนะครับว่า Notary หรือ Notary Public คือผู้มีอำนาจในการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เพื่อยืนยันว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นของจริงและถูกต้องตามกฎหมาย
ดังนั้นการบริการ Notary จึงเป็นการทำให้การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยผู้ที่มีสิทธิ์ทำหน้าที่นี้ได้นั้น จะต้องได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถ้าในประเทศไทย ทนายความผู้นั้นจะต้องได้รับรองและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความก่อนนะครับ
บทบาทและหน้าที่ของการ Notary
- รับรองลายมือชื่อ (Signature Certification)
คือการตรวจสอบและรับรองว่า บุคคลที่ลงนามในเอกสารเป็นผู้ลงนามจริง มีตัวตนอยู่จริง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร
- รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร (Certified Copy of Documents)
คือ สามารถทำหน้าที่รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร เช่น พาสปอร์ต สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารทางกฎหมาย หรือเอกสารที่ใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อยืนยันว่าตรงกับเอกสารต้นฉบับ
- รับรองเอกสารทางกฎหมาย (Legal Documents Certification)
คือ บริการนี้มีความสำคัญในกรณีที่มีการใช้เอกสารต่างๆ ในการดำเนินการทางกฎหมายในต่างประเทศ เช่น การทำสัญญา การแต่งตั้งทนาย หรือการมอบอำนาจ (Power of Attorney)
- เป็นพยานในการลงนาม (Witness)
คือ Notary มีบทบาทเป็น พยานในการลงนาม โดยยืนยันว่าบุคคลที่ลงนามในเอกสารนั้นเป็นผู้ลงนามจริง โดยการตรวจสอบตัวตนผ่านบัตรประชาชนหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของ Notary และหน้าที่ของแต่ละประเภท
โดยประเภทของ Notary นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทมีดังนี้ครับ
Traditional Notary (Notary Public)
เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฎษ ที่จะใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law โดยจะทำหน้าที่เพียงจัดทำเอกสาร เป็นเอกสารธรรมดา ไม่ถือเป็นเอกสารรายการ หรือหากมีข้อพิพาททางคดีความก็จะต้องใช้สืบพยานในการประกอบชั้นศาล (ซึ่งประเทศไทยได้ใช้รูปแบบนี้นะครับ)
โดยหน้าที่หลักมีดังนี้
- รับรองลายมือชื่อในเอกสารทางกฎหมาย
เช่น การทำสัญญา พินัยกรรม หรือเอกสารทางธุรกิจ - รับรองสำเนาเอกสารว่าเป็นสำเนาถูกต้องตามต้นฉบับ
- เป็นพยานการลงนามในเอกสารสำคัญ
- รับรองคำให้การทางกฎหมาย
หรือการสาบานว่าจะพูดความจริง (Oaths and Affirmations)
Civil Law Notary
พบในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน หรือประเทศในละตินอเมริกา มีบทบาทสำหรับการรวบรวมเอกสาร จัดทำเอกสาร ตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน
แต่เมื่อมีข้อพิพาทในชั้นศาลก็จะต้องไปเบิกความเพื่อรับรองเอกสาร หรือหมายถึงหากเกิดปัญหาขึ้น ทนายความผู้ที่ได้ทำการรับรองเอกสารนั้นก็จะต้องไปศาล เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารที่ศาลเท่านั้น
หน้าที่หลักมีดังนี้
- ให้บริการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม
เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจัดการมรดก และการแต่งตั้งผู้รับมรดก - จัดทำเอกสารทางกฎหมาย
เช่น สัญญาซื้อขาย พินัยกรรม และข้อตกลงทางธุรกิจ - รับรองลายมือชื่อในเอกสาร
และให้การรับรองความถูกต้องทางกฎหมายของเอกสาร - ทำหน้าที่คล้าย “ผู้ให้คำปรึกษาและร่างสัญญา”
โดยมีผลบังคับใช้ในชั้นศาลโดยตรง
Notary Signing Agent
เป็นประเภทของ Notary ที่เฉพาะเจาะจงกับงานที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางด้านการเงินหรือสินเชื่อ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
หน้าที่หลักมีดังนี้
- รับรองเอกสารการกู้เงิน การจำนอง หรือสินเชื่อบ้าน
รวมถึงเอกสารทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมสินเชื่อ - เป็นพยานการลงนามในเอกสารการซื้อขายทรัพย์สิน
เช่น โฉนดที่ดิน หรือการทำสัญญาการขายบ้าน
International Notary
เป็นประเภท Notary ที่มีบทบาทในระดับนานาชาติ โดยรับรองเอกสารที่ต้องใช้นอกเขตอำนาจศาลของประเทศต้นทาง
หน้าที่หลักมีดังนี้
- รับรองเอกสารที่ต้องใช้ในต่างประเทศ
เช่น หนังสือมอบอำนาจ การทำพินัยกรรม หรือเอกสารการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ - ให้การรับรองในเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ
- จัดทำเอกสาร Apostille
คือ เอกสารที่รับรองโดยหน่วยงานราชการเพื่อให้เอกสารสามารถใช้งานในต่างประเทศได้
Online Notary (Remote Notary)
เป็นรูปแบบของ Notary ที่ให้บริการรับรองเอกสารผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในยุคดิจิทัล
เช่น ในสหรัฐอเมริกาและบางประเทศที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้
หน้าที่หลักมีดังนี้
- รับรองลายมือชื่อในเอกสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
โดยผู้ลงนามสามารถลงนามในเอกสารแบบดิจิทัลผ่านวิดีโอคอล - ตรวจสอบเอกสารออนไลน์
และให้การรับรองเหมือนการทำหน้าที่แบบปกติ - เพิ่มความสะดวก
ในกรณีที่ผู้ลงนามไม่สามารถมาในที่ตั้งสำนักงานของ Notary ได้
ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้บริการ Notary
ผมขอยกตัวอย่างในประเทศไทยนะครับ
กรณีสำหรับ Notary หรือทนายความรับรองเอกสาร มีบทบาทสำคัญในการรับรองความถูกต้องของเอกสาร
โดยเอกสารที่ต้องใช้บริการ Notary มักเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางกฎหมาย ธุรกิจ และการใช้เอกสารระหว่างประเทศ
ซึ่งตัวอย่างเอกสารที่มักต้องใช้บริการ Notary ในประเทศไทย ได้แก่
1. เอกสารที่ใช้ในธุรกิจและการค้า
- หนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association)
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัทที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า - รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น (Shareholder Meeting Minutes)
เอกสารที่บันทึกมติที่ประชุมของผู้ถือหุ้นในบริษัท เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมการ การออกหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งอาจต้องรับรองความถูกต้องของมติการประชุม - สัญญาทางธุรกิจ (Business Contracts)
เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน การจำนอง ซึ่งอาจต้องมีการรับรองลายมือชื่อของคู่สัญญา - หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney)
สำหรับมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน เช่น การลงนามในเอกสารธุรกิจ หรือดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ
2. เอกสารที่ใช้ทางกฎหมาย
- พินัยกรรม (Wills)
เอกสารเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินหลังการเสียชีวิต ผู้ทำพินัยกรรมสามารถใช้บริการ Notary เพื่อรับรองลายมือชื่อในพินัยกรรม และยืนยันความถูกต้อง - คำให้การหรือคำสาบาน (Affidavits or Declarations)
เอกสารการให้คำสาบานหรือคำให้การในชั้นศาลหรือกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในการดำเนินคดี - เอกสารยืนยันข้อตกลง (Legal Agreements)
เอกสารทางกฎหมายเช่น ข้อตกลงการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ที่ต้องการความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
3. เอกสารที่ใช้ในการเดินทางและการย้ายถิ่นฐาน
- หนังสือเดินทางและเอกสารประกอบการขอวีซ่า (Passport and Visa Application Documents)
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอหรือยื่นต่ออายุหนังสือเดินทาง หรือการยื่นขอวีซ่าในบางกรณีอาจต้องรับรองเอกสาร - หนังสือยินยอมให้บุตรเดินทาง (Travel Consent for Minors)
หากผู้ปกครองไม่สามารถเดินทางพร้อมกับบุตรหลาน หนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางคนเดียวอาจต้องมีการรับรองลายมือชื่อ
4. เอกสารที่ใช้ในการศึกษา
- ใบรับรองผลการศึกษา (Academic Transcripts)
เช่น การใช้ใบปริญญาบัตรหรือใบแสดงผลการเรียนสำหรับการยื่นขอเรียนต่อหรือสมัครงานในต่างประเทศ ซึ่งมักต้องใช้บริการ Notary ในการรับรองเอกสาร - ใบประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร (Certificates and Diplomas)
ที่ต้องการนำไปใช้ต่างประเทศ มักจะต้องมีการรับรองความถูกต้องของเอกสารก่อน
5. เอกสารที่ใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ
- สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (International Sales Contracts)
สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหรือการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งต้องการการรับรองจาก Notary เพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ในต่างประเทศ - เอกสารการตั้งบริษัทในต่างประเทศ (Overseas Company Registration Documents)
เช่น การเปิดบริษัทสาขาหรือการจัดตั้งธุรกิจในต่างประเทศ เอกสารเหล่านี้อาจต้องรับรองความถูกต้องจาก Notary ก่อนยื่นให้หน่วยงานต่างประเทศ
6. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน
เอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer of Ownership Documents)
เช่น การโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่ต้องมีการรับรองเอกสารเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาจำนองหรือเอกสารการกู้ยืมเงิน (Mortgage and Loan Agreements)
สำหรับการจำนองหรือการทำสัญญากู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ซึ่งต้องการความถูกต้องและการยืนยันลายมือชื่อ
7. เอกสารที่ใช้ในกระบวนการทางศาล
- คำให้การและคำฟ้อง (Legal Complaints and Testimonies)
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องหรือการดำเนินคดีในศาล โดยการรับรองเอกสารทำให้การยื่นคำฟ้องมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ - เอกสารเกี่ยวกับการประกันตัว (Bail Documents)
เอกสารการประกันตัวที่ต้องมีการรับรองความถูกต้องจาก Notary เพื่อให้ใช้ในกระบวนการทางกฎหมาย
ขั้นตอนการทำ Notary ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
การทำ Notary หรือการรับรองเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
เพื่อให้การรับรองเอกสารเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายและใช้ได้จริง
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจสอบเอกสารที่ต้องการรับรองก่อนที่จะทำการรับรองเอกสาร
โดยทนายความรับรองเอกสาร (Notary Public) ต้องทำการตรวจสอบประเภทของเอกสารที่จะทำการรับรอง ซึ่งอาจเป็น
– เอกสารที่ต้องการรับรองลายมือชื่อ
– เอกสารที่ต้องการรับรองสำเนาถูกต้อง
– เอกสารที่ต้องการให้การสาบานหรือคำให้การ
2. ยืนยันตัวตนของผู้ขอรับรองเอกสาร
การตรวจสอบตัวตนของผู้ขอรับรองเอกสารเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลง
โดยปกติผู้ขอรับรองต้องนำเอกสารแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางมายืนยันตัวตน ทนายความจะต้องตรวจสอบข้อมูลดังนี้
– ชื่อและนามสกุลตรงตามเอกสารประจำตัว
– รูปถ่ายในบัตรตรงกับตัวบุคคลจริง
– หมายเลขบัตรประจำตัวและรายละเอียดอื่นๆ ตรงกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
ทนายความต้องตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเอกสารที่ขอรับรอง
โดยพิจารณาว่าเอกสารดังกล่าว
– ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีข้อผิดพลาดที่อาจทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง
– เป็นเอกสารที่สามารถรับรองได้ตามกฎหมาย (เช่น เอกสารที่มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย ไม่สามารถรับรองได้)
4. ทำการลงนามและประทับตรา
เมื่อทนายความตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของเอกสารแล้ว ผู้ที่ขอรับรองจะต้องลงนามในเอกสารต่อหน้าทนายความ (หากเป็นการรับรองลายมือชื่อ)
จากนั้นทนายความจะ
– ลงนามในเอกสารรับรอง โดยจะลงนามในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในเอกสาร
– ประทับตราทนายความรับรองเอกสาร (Notary Public Seal) บนเอกสาร เพื่อยืนยันว่า- เอกสารนั้นได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
5. การให้คำสาบานหรือคำให้การ (ถ้ามี)
ในกรณีที่เอกสารนั้นต้องการให้คำสาบานหรือคำให้การ ทนายความมีหน้าที่ตรวจสอบและให้ผู้ขอรับรองเอกสารทำการให้คำสาบาน
หรือคำให้การที่ถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นจึงทำการรับรองคำให้การเหล่านั้น
6. การจัดทำบันทึกการรับรองเอกสาร
ทนายความจะต้องทำบันทึกเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร ซึ่งอาจรวมถึง
– รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่มารับรองเอกสาร
– ประเภทของเอกสารที่รับรอง
– วันที่และเวลาที่ทำการรับรอง
– ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบในอนาคต
7. ส่งมอบเอกสารที่รับรองแก่ผู้ขอ
เมื่อการรับรองเสร็จสมบูรณ์ ทนายความจะส่งมอบเอกสารที่ได้รับการลงนาม และประทับตราแล้วให้แก่ผู้ขอรับรองเอกสาร
8. การรับรองในต่างประเทศ
ในกรณีที่เอกสารต้องใช้ในต่างประเทศ หลังจากที่ได้รับการรับรองจาก Notary แล้ว อาจจำเป็นต้องทำการ รับรองเอกสารเพิ่มเติม (Apostille) โดยกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย
เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับใช้ในประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮก หรืออาจต้องผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศที่จะใช้เอกสารนั้น
การเลือกใช้บริการ Notary อย่างไรให้เหมาะสม
การเลือกใช้บริการโนตารีอย่างเหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการรับรองเอกสารเกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือและผลบังคับทางกฎหมาย
โดยการเลือกโนตารีที่เหมาะสมนั้น สามารถช่วยให้เอกสารที่คุณต้องการใช้งานมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีแนวทางในการเลือกใช้บริการดังนี้
1. ตรวจสอบใบอนุญาตและคุณสมบัติของ Notary
- ต้องเป็นทนายความที่มีสิทธิ์รับรองเอกสาร
ในประเทศไทย ผู้ที่จะให้บริการ Notary ต้องเป็นทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
และผ่านการอบรมจากสภาทนายความในบทบาททนายความรับรองเอกสาร (Notarial Services Attorney)
- ตรวจสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ผู้ที่ให้บริการ Notary ควรมีใบอนุญาตที่ถูกต้องและไม่หมดอายุ
คุณสามารถขอให้ Notary แสดงใบอนุญาตหรือสอบถามข้อมูลจากสภาทนายความ
2. พิจารณาประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
- เลือก Notary ที่มีประสบการณ์
ควรเลือกทนายความที่มีประสบการณ์ในการรับรองเอกสารประเภทที่คุณต้องการ
เช่น การรับรองเอกสารทางธุรกิจ การศึกษา หรือเอกสารทางการเงิน
ซึ่งสามารถช่วยให้การรับรองเอกสารถูกต้องตามมาตรฐาน
- ความเชี่ยวชาญในด้านเอกสารระหว่างประเทศ
หากคุณต้องการใช้เอกสารในต่างประเทศ ควรเลือก Notary ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับเอกสารที่ต้องการรับรอง สำหรับการใช้งานในประเทศอื่น
เพื่อให้เอกสารของคุณได้รับการยอมรับตามกฎหมายของประเทศนั้น
3. ประเภทของเอกสารที่ต้องการรับรอง
- พิจารณาประเภทเอกสารที่ต้องการรับรอง
แต่ละประเภทเอกสารอาจมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต่างกัน เช่น การรับรองสำเนาถูกต้อง การรับรองลายมือชื่อ
หรือการให้คำสาบาน ควรแจ้งให้ Notary ทราบถึงประเภทเอกสารและวัตถุประสงค์ของการใช้งานอย่างชัดเจน
- เอกสารที่ต้องใช้ในต่างประเทศ
หากคุณต้องใช้เอกสารในต่างประเทศ ต้องตรวจสอบว่ามีขั้นตอนเพิ่มเติม
เช่น การรับรองโดยสถานทูตหรือไม่
4. ตรวจสอบค่าบริการ
- ศึกษาค่าธรรมเนียม
การรับรองเอกสารอาจมีค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสารและความซับซ้อนของการรับรอง
ควรตรวจสอบค่าบริการล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการจ่ายเงิน
- ความโปร่งใสในค่าธรรมเนียม
Notary ควรแจ้งค่าบริการที่ชัดเจน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมี เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารสำเนา หรือค่าบริการส่งเอกสาร
5. สถานที่และเวลาให้บริการ
- เลือก Notary ที่มีความสะดวกในการเข้าถึง
ควรเลือก Notary ที่มีสถานที่ให้บริการที่อยู่ใกล้คุณ หรือสามารถให้บริการในเวลาที่คุณสะดวก
บางครั้ง Notary อาจมีบริการรับรองเอกสารนอกสถานที่
ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่ดีหากคุณไม่สามารถเดินทางไปยังสำนักงานได้
- ความพร้อมให้บริการอย่างรวดเร็ว
หากคุณต้องใช้เอกสารด่วน ควรเลือก Notary ที่สามารถดำเนินการรับรองเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการติดตามงานหลังการรับรองเอกสาร
6. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของเอกสาร
- เลือก Notary ที่มีชื่อเสียงดี
ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น รีวิวจากลูกค้าคนอื่น ๆ หรือการแนะนำจากเพื่อน หรือคนรู้จักที่เคยใช้บริการ
เพื่อมั่นใจในความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของการให้บริการ (หรือเลือกให้เราบริการดูซิครับ)
- ความปลอดภัยในการเก็บรักษาเอกสาร
เอกสารที่ใช้ในการรับรองมักเป็นเอกสารที่มีความสำคัญ Notary ควรมีมาตรการในการเก็บรักษาเอกสารอย่างปลอดภัย
เพื่อป้องกันการสูญหายหรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว
7. ความเข้าใจในกระบวนการและข้อกำหนดทางกฎหมาย
- อธิบายขั้นตอนการรับรองอย่างละเอียด
Notary ที่ดีควรให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด รวมถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเอกสาร เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย
- ความรู้ในกฎหมายท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะในกรณีที่คุณต้องการรับรองเอกสารสำหรับการใช้ในต่างประเทศ Notary ควรมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ
เพื่อให้การรับรองเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
8. ตรวจสอบการรับรองเพิ่มเติม (การรับรองโดยสถานทูต)
- การรับรองโดยสถานทูต
ในกรณีที่ต้องใช้เอกสารในประเทศที่ไม่ใช่ภาคีอนุสัญญากรุงเฮก
คุณอาจต้องให้สถานทูตของประเทศนั้นๆ ทำการรับรองเอกสารเพิ่มเติมหลังจาก Notary ได้ทำการรับรองเอกสารแล้ว
สรุป
สรุปแล้วการทำโนตารีหรือ“notary” นั้นมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้
1. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเอกสาร
Notary ช่วยยืนยันว่าเอกสารที่ลงนามนั้นเป็นของจริง
โดยผู้ลงนามได้รับการตรวจสอบตัวตน ทำให้มั่นใจว่าไม่มีการปลอมแปลง
2. รองรับการใช้เอกสารในต่างประเทศ
เอกสารที่ได้รับการรับรองจาก Notary สามารถใช้ได้ในต่างประเทศ
โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจ กฎหมาย หรือการศึกษา
3. ลดความเสี่ยงในการถูกท้าทายทางกฎหมาย
เอกสารที่ได้รับการรับรองจาก Notary จะได้รับการป้องกันจากการถูกคัดค้านในชั้นศาล
4. การทำธุรกรรมที่ปลอดภัยขึ้น
ใช้ในกรณีที่ต้องการความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม
เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการเซ็นสัญญาทางธุรกิจ
หากคุณต้องการที่จะติดต่อใช้บริการ Notary คุณสามารถใช้บริการ Notary จากทนายความที่มีใบอนุญาตรับรอง Notary ในประเทศไทย
โดยเฉพาะผู้ที่เป็น Notary Public Attorney ซึ่งได้รับการรับรองจากสภาทนายความ
หากสนใจใช้บริการ คุณสามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอนัดหมาย สำหรับการรับรองเอกสารที่ต้องการได้นะครับ
ยินดีให้บริการครับ
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อทนาย
ส่งเมล์
info@champ-lawfirm.com
โทร
065 6060622
แชทไลน์
ID: @champlawfirm
สำนักงาน
47/86 Pattaya Klang Rd.