ตัวอย่าง Notary แบบต่างๆ

Notary TH

สารบัญ

Notary คืออะไร และมีบทบาทอย่างไร

ถามว่า Notary คืออะไร?

ขอตอบเลยนะครับว่า Notary หรือ Notary Public คือผู้มีอำนาจในการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เพื่อยืนยันว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นของจริงและถูกต้องตามกฎหมาย

ดังนั้นการบริการ Notary จึงเป็นการทำให้การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยผู้ที่มีสิทธิ์ทำหน้าที่นี้ได้นั้น จะต้องได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ถ้าในประเทศไทย ทนายความผู้นั้นจะต้องได้รับรองและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความก่อนนะครับ

บทบาทและหน้าที่ของการ Notary

  • รับรองลายมือชื่อ (Signature Certification)

คือการตรวจสอบและรับรองว่า บุคคลที่ลงนามในเอกสารเป็นผู้ลงนามจริง มีตัวตนอยู่จริง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร

  • รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร (Certified Copy of Documents)

คือ สามารถทำหน้าที่รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร เช่น พาสปอร์ต สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารทางกฎหมาย หรือเอกสารที่ใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ เพื่อยืนยันว่าตรงกับเอกสารต้นฉบับ

  • รับรองเอกสารทางกฎหมาย (Legal Documents Certification)

คือ บริการนี้มีความสำคัญในกรณีที่มีการใช้เอกสารต่างๆ ในการดำเนินการทางกฎหมายในต่างประเทศ เช่น การทำสัญญา การแต่งตั้งทนาย หรือการมอบอำนาจ (Power of Attorney)

  • เป็นพยานในการลงนาม (Witness)

คือ Notary มีบทบาทเป็น พยานในการลงนาม โดยยืนยันว่าบุคคลที่ลงนามในเอกสารนั้นเป็นผู้ลงนามจริง โดยการตรวจสอบตัวตนผ่านบัตรประชาชนหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของ Notary และหน้าที่ของแต่ละประเภท

โดยประเภทของ Notary นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทมีดังนี้ครับ

Traditional Notary (Notary Public)
เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฎษ ที่จะใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law โดยจะทำหน้าที่เพียงจัดทำเอกสาร เป็นเอกสารธรรมดา ไม่ถือเป็นเอกสารรายการ หรือหากมีข้อพิพาททางคดีความก็จะต้องใช้สืบพยานในการประกอบชั้นศาล (ซึ่งประเทศไทยได้ใช้รูปแบบนี้นะครับ)

โดยหน้าที่หลักมีดังนี้

  1. รับรองลายมือชื่อในเอกสารทางกฎหมาย
    เช่น การทำสัญญา พินัยกรรม หรือเอกสารทางธุรกิจ
  2. รับรองสำเนาเอกสารว่าเป็นสำเนาถูกต้องตามต้นฉบับ
  3. เป็นพยานการลงนามในเอกสารสำคัญ
  4. รับรองคำให้การทางกฎหมาย
    หรือการสาบานว่าจะพูดความจริง (Oaths and Affirmations)

Civil Law Notary

พบในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน หรือประเทศในละตินอเมริกา มีบทบาทสำหรับการรวบรวมเอกสาร จัดทำเอกสาร ตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ถือว่าเป็นเอกสารมหาชน

แต่เมื่อมีข้อพิพาทในชั้นศาลก็จะต้องไปเบิกความเพื่อรับรองเอกสาร หรือหมายถึงหากเกิดปัญหาขึ้น ทนายความผู้ที่ได้ทำการรับรองเอกสารนั้นก็จะต้องไปศาล เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารที่ศาลเท่านั้น

หน้าที่หลักมีดังนี้

  1. ให้บริการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม
    เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจัดการมรดก และการแต่งตั้งผู้รับมรดก
  2. จัดทำเอกสารทางกฎหมาย
    เช่น สัญญาซื้อขาย พินัยกรรม และข้อตกลงทางธุรกิจ
  3. รับรองลายมือชื่อในเอกสาร
    และให้การรับรองความถูกต้องทางกฎหมายของเอกสาร
  4. ทำหน้าที่คล้าย “ผู้ให้คำปรึกษาและร่างสัญญา”
    โดยมีผลบังคับใช้ในชั้นศาลโดยตรง

Notary Signing Agent
เป็นประเภทของ Notary ที่เฉพาะเจาะจงกับงานที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางด้านการเงินหรือสินเชื่อ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

หน้าที่หลักมีดังนี้

  1. รับรองเอกสารการกู้เงิน การจำนอง หรือสินเชื่อบ้าน
    รวมถึงเอกสารทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมสินเชื่อ
  2. เป็นพยานการลงนามในเอกสารการซื้อขายทรัพย์สิน
    เช่น โฉนดที่ดิน หรือการทำสัญญาการขายบ้าน

International Notary
เป็นประเภท Notary ที่มีบทบาทในระดับนานาชาติ โดยรับรองเอกสารที่ต้องใช้นอกเขตอำนาจศาลของประเทศต้นทาง

หน้าที่หลักมีดังนี้

  1. รับรองเอกสารที่ต้องใช้ในต่างประเทศ
    เช่น หนังสือมอบอำนาจ การทำพินัยกรรม หรือเอกสารการจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ
  2. ให้การรับรองในเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ
  3. จัดทำเอกสาร Apostille
    คือ เอกสารที่รับรองโดยหน่วยงานราชการเพื่อให้เอกสารสามารถใช้งานในต่างประเทศได้

Online Notary (Remote Notary)
เป็นรูปแบบของ Notary ที่ให้บริการรับรองเอกสารผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในยุคดิจิทัล

เช่น ในสหรัฐอเมริกาและบางประเทศที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้

หน้าที่หลักมีดังนี้

  1. รับรองลายมือชื่อในเอกสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
    โดยผู้ลงนามสามารถลงนามในเอกสารแบบดิจิทัลผ่านวิดีโอคอล
  2. ตรวจสอบเอกสารออนไลน์
    และให้การรับรองเหมือนการทำหน้าที่แบบปกติ
  3. เพิ่มความสะดวก
    ในกรณีที่ผู้ลงนามไม่สามารถมาในที่ตั้งสำนักงานของ Notary ได้

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้บริการ Notary

ผมขอยกตัวอย่างในประเทศไทยนะครับ

กรณีสำหรับ Notary หรือทนายความรับรองเอกสาร มีบทบาทสำคัญในการรับรองความถูกต้องของเอกสาร

โดยเอกสารที่ต้องใช้บริการ Notary มักเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางกฎหมาย ธุรกิจ และการใช้เอกสารระหว่างประเทศ

ซึ่งตัวอย่างเอกสารที่มักต้องใช้บริการ Notary ในประเทศไทย ได้แก่

1. เอกสารที่ใช้ในธุรกิจและการค้า

  • หนังสือบริคณห์สนธิ (Memorandum of Association)
    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัทที่ต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น (Shareholder Meeting Minutes)
    เอกสารที่บันทึกมติที่ประชุมของผู้ถือหุ้นในบริษัท เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมการ การออกหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งอาจต้องรับรองความถูกต้องของมติการประชุม
  • สัญญาทางธุรกิจ (Business Contracts)
    เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน การจำนอง ซึ่งอาจต้องมีการรับรองลายมือชื่อของคู่สัญญา
  • หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney)
    สำหรับมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน เช่น การลงนามในเอกสารธุรกิจ หรือดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ

2. เอกสารที่ใช้ทางกฎหมาย

  • พินัยกรรม (Wills)
    เอกสารเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินหลังการเสียชีวิต ผู้ทำพินัยกรรมสามารถใช้บริการ Notary เพื่อรับรองลายมือชื่อในพินัยกรรม และยืนยันความถูกต้อง
  • คำให้การหรือคำสาบาน (Affidavits or Declarations)
    เอกสารการให้คำสาบานหรือคำให้การในชั้นศาลหรือกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในการดำเนินคดี
  • เอกสารยืนยันข้อตกลง (Legal Agreements)
    เอกสารทางกฎหมายเช่น ข้อตกลงการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ที่ต้องการความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ

3. เอกสารที่ใช้ในการเดินทางและการย้ายถิ่นฐาน

  • หนังสือเดินทางและเอกสารประกอบการขอวีซ่า (Passport and Visa Application Documents)
    เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอหรือยื่นต่ออายุหนังสือเดินทาง หรือการยื่นขอวีซ่าในบางกรณีอาจต้องรับรองเอกสาร
  • หนังสือยินยอมให้บุตรเดินทาง (Travel Consent for Minors)
    หากผู้ปกครองไม่สามารถเดินทางพร้อมกับบุตรหลาน หนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางคนเดียวอาจต้องมีการรับรองลายมือชื่อ

4. เอกสารที่ใช้ในการศึกษา

  • ใบรับรองผลการศึกษา (Academic Transcripts)
    เช่น การใช้ใบปริญญาบัตรหรือใบแสดงผลการเรียนสำหรับการยื่นขอเรียนต่อหรือสมัครงานในต่างประเทศ ซึ่งมักต้องใช้บริการ Notary ในการรับรองเอกสาร
  • ใบประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร (Certificates and Diplomas)
    ที่ต้องการนำไปใช้ต่างประเทศ มักจะต้องมีการรับรองความถูกต้องของเอกสารก่อน

5. เอกสารที่ใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ

  • สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (International Sales Contracts)
    สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหรือการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งต้องการการรับรองจาก Notary เพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ในต่างประเทศ
  • เอกสารการตั้งบริษัทในต่างประเทศ (Overseas Company Registration Documents)
    เช่น การเปิดบริษัทสาขาหรือการจัดตั้งธุรกิจในต่างประเทศ เอกสารเหล่านี้อาจต้องรับรองความถูกต้องจาก Notary ก่อนยื่นให้หน่วยงานต่างประเทศ

6. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน

เอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer of Ownership Documents)
เช่น การโอนกรรมสิทธิ์บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นๆ ที่ต้องมีการรับรองเอกสารเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย

สัญญาจำนองหรือเอกสารการกู้ยืมเงิน (Mortgage and Loan Agreements)
สำหรับการจำนองหรือการทำสัญญากู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ซึ่งต้องการความถูกต้องและการยืนยันลายมือชื่อ

7. เอกสารที่ใช้ในกระบวนการทางศาล

  • คำให้การและคำฟ้อง (Legal Complaints and Testimonies)
    เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องหรือการดำเนินคดีในศาล โดยการรับรองเอกสารทำให้การยื่นคำฟ้องมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • เอกสารเกี่ยวกับการประกันตัว (Bail Documents)
    เอกสารการประกันตัวที่ต้องมีการรับรองความถูกต้องจาก Notary เพื่อให้ใช้ในกระบวนการทางกฎหมาย

ขั้นตอนการทำ Notary ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

การทำ Notary หรือการรับรองเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เพื่อให้การรับรองเอกสารเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายและใช้ได้จริง

โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ตรวจสอบเอกสารที่ต้องการรับรองก่อนที่จะทำการรับรองเอกสาร
โดยทนายความรับรองเอกสาร (Notary Public) ต้องทำการตรวจสอบประเภทของเอกสารที่จะทำการรับรอง ซึ่งอาจเป็น

– เอกสารที่ต้องการรับรองลายมือชื่อ
– เอกสารที่ต้องการรับรองสำเนาถูกต้อง
– เอกสารที่ต้องการให้การสาบานหรือคำให้การ

2. ยืนยันตัวตนของผู้ขอรับรองเอกสาร

การตรวจสอบตัวตนของผู้ขอรับรองเอกสารเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลง

โดยปกติผู้ขอรับรองต้องนำเอกสารแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางมายืนยันตัวตน ทนายความจะต้องตรวจสอบข้อมูลดังนี้

– ชื่อและนามสกุลตรงตามเอกสารประจำตัว
– รูปถ่ายในบัตรตรงกับตัวบุคคลจริง
– หมายเลขบัตรประจำตัวและรายละเอียดอื่นๆ ตรงกัน

3. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

ทนายความต้องตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเอกสารที่ขอรับรอง

โดยพิจารณาว่าเอกสารดังกล่าว

– ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีข้อผิดพลาดที่อาจทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง
– เป็นเอกสารที่สามารถรับรองได้ตามกฎหมาย (เช่น เอกสารที่มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย ไม่สามารถรับรองได้)

4. ทำการลงนามและประทับตรา

เมื่อทนายความตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของเอกสารแล้ว ผู้ที่ขอรับรองจะต้องลงนามในเอกสารต่อหน้าทนายความ (หากเป็นการรับรองลายมือชื่อ)

จากนั้นทนายความจะ

– ลงนามในเอกสารรับรอง โดยจะลงนามในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในเอกสาร
– ประทับตราทนายความรับรองเอกสาร (Notary Public Seal) บนเอกสาร เพื่อยืนยันว่า- เอกสารนั้นได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง

5. การให้คำสาบานหรือคำให้การ (ถ้ามี)

ในกรณีที่เอกสารนั้นต้องการให้คำสาบานหรือคำให้การ ทนายความมีหน้าที่ตรวจสอบและให้ผู้ขอรับรองเอกสารทำการให้คำสาบาน

หรือคำให้การที่ถูกต้องตามกฎหมาย จากนั้นจึงทำการรับรองคำให้การเหล่านั้น

6. การจัดทำบันทึกการรับรองเอกสาร

ทนายความจะต้องทำบันทึกเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร ซึ่งอาจรวมถึง

– รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่มารับรองเอกสาร
– ประเภทของเอกสารที่รับรอง
– วันที่และเวลาที่ทำการรับรอง
– ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบในอนาคต

7. ส่งมอบเอกสารที่รับรองแก่ผู้ขอ

เมื่อการรับรองเสร็จสมบูรณ์ ทนายความจะส่งมอบเอกสารที่ได้รับการลงนาม และประทับตราแล้วให้แก่ผู้ขอรับรองเอกสาร

8. การรับรองในต่างประเทศ

ในกรณีที่เอกสารต้องใช้ในต่างประเทศ หลังจากที่ได้รับการรับรองจาก Notary แล้ว อาจจำเป็นต้องทำการ รับรองเอกสารเพิ่มเติม (Apostille) โดยกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย

เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับใช้ในประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮก หรืออาจต้องผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศที่จะใช้เอกสารนั้น

การเลือกใช้บริการ Notary อย่างไรให้เหมาะสม

การเลือกใช้บริการโนตารีอย่างเหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการรับรองเอกสารเกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือและผลบังคับทางกฎหมาย

โดยการเลือกโนตารีที่เหมาะสมนั้น สามารถช่วยให้เอกสารที่คุณต้องการใช้งานมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีแนวทางในการเลือกใช้บริการดังนี้

1. ตรวจสอบใบอนุญาตและคุณสมบัติของ Notary

  • ต้องเป็นทนายความที่มีสิทธิ์รับรองเอกสาร

ในประเทศไทย ผู้ที่จะให้บริการ Notary ต้องเป็นทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

และผ่านการอบรมจากสภาทนายความในบทบาททนายความรับรองเอกสาร (Notarial Services Attorney)

  • ตรวจสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ผู้ที่ให้บริการ Notary ควรมีใบอนุญาตที่ถูกต้องและไม่หมดอายุ

คุณสามารถขอให้ Notary แสดงใบอนุญาตหรือสอบถามข้อมูลจากสภาทนายความ

2. พิจารณาประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

  • เลือก Notary ที่มีประสบการณ์

ควรเลือกทนายความที่มีประสบการณ์ในการรับรองเอกสารประเภทที่คุณต้องการ

เช่น การรับรองเอกสารทางธุรกิจ การศึกษา หรือเอกสารทางการเงิน

ซึ่งสามารถช่วยให้การรับรองเอกสารถูกต้องตามมาตรฐาน

  • ความเชี่ยวชาญในด้านเอกสารระหว่างประเทศ

หากคุณต้องการใช้เอกสารในต่างประเทศ ควรเลือก Notary ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับเอกสารที่ต้องการรับรอง สำหรับการใช้งานในประเทศอื่น

เพื่อให้เอกสารของคุณได้รับการยอมรับตามกฎหมายของประเทศนั้น

3. ประเภทของเอกสารที่ต้องการรับรอง

  • พิจารณาประเภทเอกสารที่ต้องการรับรอง

แต่ละประเภทเอกสารอาจมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต่างกัน เช่น การรับรองสำเนาถูกต้อง การรับรองลายมือชื่อ

หรือการให้คำสาบาน ควรแจ้งให้ Notary ทราบถึงประเภทเอกสารและวัตถุประสงค์ของการใช้งานอย่างชัดเจน

  • เอกสารที่ต้องใช้ในต่างประเทศ

หากคุณต้องใช้เอกสารในต่างประเทศ ต้องตรวจสอบว่ามีขั้นตอนเพิ่มเติม

เช่น การรับรองโดยสถานทูตหรือไม่

4. ตรวจสอบค่าบริการ

  • ศึกษาค่าธรรมเนียม

การรับรองเอกสารอาจมีค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสารและความซับซ้อนของการรับรอง

ควรตรวจสอบค่าบริการล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการจ่ายเงิน

  • ความโปร่งใสในค่าธรรมเนียม

Notary ควรแจ้งค่าบริการที่ชัดเจน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมี เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารสำเนา หรือค่าบริการส่งเอกสาร

5. สถานที่และเวลาให้บริการ

  • เลือก Notary ที่มีความสะดวกในการเข้าถึง

ควรเลือก Notary ที่มีสถานที่ให้บริการที่อยู่ใกล้คุณ หรือสามารถให้บริการในเวลาที่คุณสะดวก

บางครั้ง Notary อาจมีบริการรับรองเอกสารนอกสถานที่

ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่ดีหากคุณไม่สามารถเดินทางไปยังสำนักงานได้

  • ความพร้อมให้บริการอย่างรวดเร็ว

หากคุณต้องใช้เอกสารด่วน ควรเลือก Notary ที่สามารถดำเนินการรับรองเอกสารได้อย่างรวดเร็ว

และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการติดตามงานหลังการรับรองเอกสาร

6. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของเอกสาร

  • เลือก Notary ที่มีชื่อเสียงดี

ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น รีวิวจากลูกค้าคนอื่น ๆ หรือการแนะนำจากเพื่อน หรือคนรู้จักที่เคยใช้บริการ

เพื่อมั่นใจในความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของการให้บริการ (หรือเลือกให้เราบริการดูซิครับ)

  • ความปลอดภัยในการเก็บรักษาเอกสาร

เอกสารที่ใช้ในการรับรองมักเป็นเอกสารที่มีความสำคัญ Notary ควรมีมาตรการในการเก็บรักษาเอกสารอย่างปลอดภัย

เพื่อป้องกันการสูญหายหรือการละเมิดความเป็นส่วนตัว

7. ความเข้าใจในกระบวนการและข้อกำหนดทางกฎหมาย

  • อธิบายขั้นตอนการรับรองอย่างละเอียด

Notary ที่ดีควรให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด รวมถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเอกสาร เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย

  • ความรู้ในกฎหมายท้องถิ่นและระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะในกรณีที่คุณต้องการรับรองเอกสารสำหรับการใช้ในต่างประเทศ Notary ควรมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ

เพื่อให้การรับรองเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

8. ตรวจสอบการรับรองเพิ่มเติม (การรับรองโดยสถานทูต)

  • การรับรองโดยสถานทูต

ในกรณีที่ต้องใช้เอกสารในประเทศที่ไม่ใช่ภาคีอนุสัญญากรุงเฮก

คุณอาจต้องให้สถานทูตของประเทศนั้นๆ ทำการรับรองเอกสารเพิ่มเติมหลังจาก Notary ได้ทำการรับรองเอกสารแล้ว

สรุป

สรุปแล้วการทำโนตารีหรือ“notary” นั้นมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้

1. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเอกสาร

Notary ช่วยยืนยันว่าเอกสารที่ลงนามนั้นเป็นของจริง

โดยผู้ลงนามได้รับการตรวจสอบตัวตน ทำให้มั่นใจว่าไม่มีการปลอมแปลง

2. รองรับการใช้เอกสารในต่างประเทศ

เอกสารที่ได้รับการรับรองจาก Notary สามารถใช้ได้ในต่างประเทศ

โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจ กฎหมาย หรือการศึกษา

3. ลดความเสี่ยงในการถูกท้าทายทางกฎหมาย

เอกสารที่ได้รับการรับรองจาก Notary จะได้รับการป้องกันจากการถูกคัดค้านในชั้นศาล

4. การทำธุรกรรมที่ปลอดภัยขึ้น

ใช้ในกรณีที่ต้องการความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม

เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการเซ็นสัญญาทางธุรกิจ

หากคุณต้องการที่จะติดต่อใช้บริการ Notary คุณสามารถใช้บริการ Notary จากทนายความที่มีใบอนุญาตรับรอง Notary ในประเทศไทย

โดยเฉพาะผู้ที่เป็น Notary Public Attorney ซึ่งได้รับการรับรองจากสภาทนายความ

หากสนใจใช้บริการ คุณสามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอนัดหมาย สำหรับการรับรองเอกสารที่ต้องการได้นะครับ

ยินดีให้บริการครับ

เนื้อหา / เรียบเรียง โดย ทนายเกริก

สอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อทนาย